Thursday, January 24, 2008
Work Shop # 1288 : Mind Mapping: A Tool for Analytical & Critical Thinking สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
[ทีมงานที่ได้รับรางวัลสามมัคียืนหยัดเรียนรู้ - กลุ่ม ๑ เลือกข่าวสะเทือนขวัญ "พ่อฆ่าลูกสาววัยสี่เดือน"]
[กลุ่ม ๒ เลือกข่าวกุศล "สถานที่ทำบุญตามราศี"]
[กลุ่ม ๓ เลือกข่าวการเมือง "ขันทีสีเขียว"]
[กลุ่ม ๔ เลือกข่าวอาชญากรรม "ปล้นรถขนเงิน"]
[กลุ่ม ๕ เลือกข่าวเศรษฐกิจ]
[กลุ่ม ๖ เลือกข่าวบันเทิง "เปิดตัวภาพยนตร์การ์ตูนต่างชาติ"]
[คำถามระดับ ๑ ความรู้ (ข้อมูล)]
[นำเสนอระดับ ๒ ความเข้าใจ - รวมถึงการหาข้อมูลเพิ่มเติม]
[คำถามระดับ ๓ ประยุกต์ใช้ในแง่มุมอื่น ๆ ]
[นำเสนอระดับ ๔ วิเคราะห์ "ในการเปิดตัวภาพยนตร์ต่างประเทศ ที่ต้องใช้เสียงของดารานักร้องวัยรุ่นไทยพากษ์เพราะว่า ...."]
[คำถามระดับ ๔ วิเคราะห์ "คุณคิดว่าทำไมข่าวจึงไม่ระบุวันเวลาและสถานที่?"]
[นำเสนอระดับ ๕ สังเคราะห์ "คนกรุ่งเทพฯมีทางเลือกในการทำบุญหลายแบบ เช่น นั่งสมาธิที่บ้าน แต่หากต้องการออกไปทำบุญ ก็ขอเสนอ ๙ วัด ...."]
[คำถามระดับ ๕ สังเคราะห์ "คุณจะแนะนำให้เริ่มจากวัดใดไปสิ้นสุดที่วัดใด?"]
[นำเสนอระดับ ๖ ตัดสินใจประเมินค่า : นักข่าวการเมืองตั้วสมญาให้กับ สนช. - ขันทีสีเขียนเนื่องจาก ..... ]
[คำถามระดับ ๖ ตัดสินใจประเมินค่า: คุณเห็นด้วยกับการตั้งฉายา "ขันทีสีเขียวไหม?]
วันที่ 24 มกราคม 2551 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาจัดการอบรมในหัวข้อ การเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ (Mind Mapping: A Tool for Analytical & Critical Thinking)ซึ่งเป็นการจัดอบให้กับเจ้าหน้าผู้ปฏิบัติงานระดับ ๓-๘ จำนวน 30 คน ตามโครงการพัฒนาสมรรถนะหลัก (Core Competency) ของบุคลากร ณ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารสุขประพฤติ
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เดิมเรียกว่า "สำนักงานเลขาธิการพฤฒสภา" ก่อตั้งขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๔๘๙ มีที่ทำการ ณ พระที่นั่งอภิเษกดุสิตในบริเวณด้านทิศเหนือของพระที่นั่งอนัตสมาคม และมี นายไพโรจน์ ชัยนาม (รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์) เป็นเลขาธิการคนแรก เหตุผลของการก่อตั้งสำนักงานเลขาธิการพฤฒสภา ในขณะนั้น สืบเนื่องจาก มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ ที่ได้บัญญัติให้ "รัฐสภา" ประกอบด้วย พฤฒสภา และ สภาผู้แทน อันเป็นการเริ่มต้นใช้ระบบรัฐสภา ในรูปแบบสภาคู่ (Dual Parliament) เป็นครั้งแรก นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น คือ นายปรีดี พนมยงค์ จึงมีดำริว่า ที่ประชุมของสภาทั้งสองจะต้องมีที่ประชุมคนละแห่ง และสำนักงานเลขาธิการของสภา จะต้องมีเป็นสองสำนักงาน เพราะต่างก็ทำหน้าที่ฝ่ายธุรการของแต่ละสภาแยกต่างหากจากกัน เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ที่เขามีสภาเป็นสองสภา
สำนักงานเลขาธิการพฤฒสภา ดำเนินกิจการอยู่ได้เพียงถึงปี พ.ศ.๒๔๙๐ ก็ถูกยุบรวมเข้ากับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทน ตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานใหม่ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๔๙๐ เรียกว่า "สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา" และนับแต่นั้นเป็นต้นมา หน่วยงานทางธุรการของรัฐสภา ก็มีเพียงหน่วยงานเดียวเรื่อยมา
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ มีการปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ ครั้งใหญ่ โดยได้จำแนกข้าราชการฝ่ายพลเรือน ออกเป็นประเภทต่าง ๆ และมีระบบการบริหารบุคคลแยกต่างหากจากกัน ข้าราชการพลเรือนในสังกัดรัฐสภา และสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ถูกจำแนกประเภทออกเป็น ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของประธานรัฐสภา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ปัจจุบันสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ตั้งอยู่บนอาคารสุขประพฤติ ริมคลองประปา บางซื่อ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
1 comment:
รุ่น 3C ฝึกอบรมในวันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2551 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม 1501 ชั้น 15 อาคารสุขประพฤติ
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา มีผู้กรอกแบบประเมินผลรายวิชาเป็นจำนวน 26 คน จากผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 48 คน คิดเป็นร้อยละ 55 ของจำนวนผู้เข้าอบรมทั้งหมด
ความคิดเห็นต่อวิทยากร
สรุปผลการประเมิน พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในรุ่น 3C ส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นต่อวิทยากรในด้านความรู้ในเนื้อหาวิชา ด้านความสามารถ เทคนิคในการถ่ายทอดความรู้และเข้าใจง่าย ด้านการตอบคำถามได้ชัดเจนและตรงประเด็น ด้านการใช้สื่อประกอบคำบรรยาย อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการเสนอเนื้อหาวิชาได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ อยู่ในระดับมาก และระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อวิทยากร อยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อมูลจาก สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
Post a Comment