Wednesday, June 4, 2008
ธรรมนิติจัด Public Mind Mapping Workshop "สร้างแผนที่ความคิด สู่การพัฒนาศักยภาพในการทำงาน" 27 มิถุนายน 2551
Mind Map หรือแผนที่ความคิดนั้น แม้จะเพิ่งเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างเมื่อไม่นานมานี้ แต่แท้ที่จริงแล้วกลับเป็นเรื่องที่มีการคิดค้นกันขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 70 โน่นแล้วครับ ต้นตำรับก็คือ Mr.Tony Buzan นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและเทคนิคการเรียนรู้ที่ปราดเปรื่องที่สุดคนหนึ่งของโลก ซึ่งในแวดวงวิชาการและผู้ที่สนใจศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องความคิด การจัดการทั่วโลกต่างรู้จักกันดี (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลานี้)
จุดเริ่มต้นของ Mind Map เกิดมาจากการทดลองทางจิตวิทยาเรื่องหนึ่งของคุณ Buzan เมื่อราวทศวรรษที่ 70
การทดลองดังกล่าวเป็นการทดลองเกี่ยวกับรูปแบบของการจดจำของมนุษย์ ในเรื่องของการจดบันทึกเรื่องราวผ่านวิธีการ 3 รูปแบบ คือ การจดบันทึกทั้งหมด การจดโดยย่อและการจดเฉพาะหัวข้อหรือประเด็นสำคัญ
การทดสอบพบว่าผู้ที่เลือกวิธีการบันทึกความทรงจำ ด้วยวิธีการจดเฉพาะหัวข้อหรือประเด็นสำคัญ จะสามารถจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้มากที่สุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสมองหรือความคิด ในการจดจำและสรุปเรื่องราวในลักษณะที่เป็นความคิดรวบยอดหรือ Concept นั่นเอง
ที่สำคัญก็คือเป็นการปูแนวทางที่นำไปสู่ความคิดที่ว่า หากคนเราสามารถจัดแผนที่ระบบความคิดได้ และจัดการดี ๆ ก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจดจำ การทำความเข้าใจ การต่อยอดความคิด ตลอดจนการประยุกต์ใช้กับรูปแบบงานในลักษณะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
ความคิดเรื่อง Mind Map ได้รับการพัฒนาในแง่วิชาการต่อเนื่องมาเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาเชื่อมโยงใช้ประโยชน์ในกระบวนการทำงานเชิงธุรกิจ และเมื่อสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไปในลักษณะที่มุ่งพัฒนาคนในด้านความคิดเช่นในปัจจุบัน ก็ยิ่งส่งให้ Mind Map กลายเป็นเรื่องที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจมากขึ้น ในฐานะแนวคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งตอบโจทย์ในสิ่งที่ผู้คนและองค์กรยุคใหม่มุ่งหมายพัฒนา
Mind Map นั้น โดยหลักการก็คือการสร้างแผนที่ความคิดที่ขยายจากจุดศูนย์กลางหรือความคิดรวบยอด เชื่อมโยงไปสู่ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของความคิดต่อไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยผ่านวิธีการพื้นฐานอย่างการใช้ Key Word จากการจดบันทึก การใช้ภาพและสีเป็นเครื่องมือ
ประเด็นก็คือด้วยหลักการและวิธีการดังกล่าว จะส่งผลให้เจ้าของความคิด สามารถเรียงร้อยเรื่องราวและความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่สลับซับซ้อนให้ก่อรูปขึ้นอย่างเป็นระบบ ง่ายต่อการจดจำ เรียกใช้และทำความเข้าใจนั่นเอง
แม้กระบวนการแผนที่ความคิดดังที่กล่าวมา อาจจะดูสลับซับซ้อนและไม่ง่ายต่อการจินตนาการเท่าไหร่นัก แต่เมื่อรับฟังการถ่ายถอดจากผู้สอนและทำความเข้าใจกับหลักการและเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว แผนที่ความคิดก็จะก่อรูปขึ้นมาได้ จะเปรียบก็คงจะคล้ายกับสถาปนิคหลับตาก็สามารถนึกภาพโครงสร้างและพิมพ์เขียวของตึกสูงระฟ้าที่ตนออกแบบไว้ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น
จากนั้นก็จะเป็นเรื่องของการต่อยอดความคิดของแต่ละคนกันเองว่า ใครจะมีแผนที่หรือพิมพ์เขียวความคิดของตนเองเป็นอย่างไร แต่ที่จะได้รับนอกเหนือไปจากนี้ก็คือการนำ Concept การสร้างแผนที่ความคิด นำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างแผนความคิดต่อการทำงานโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเขียน การจดจำ ทำความเข้าใจ การวางแผนงานหรือการจัดทำโครงการต่าง ๆ
รายละเอียดคงต้องไปรับฟังคำแนะนำจากผู้สอนกันเองครับ เพราะในวันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน 2551 นี้จะมีหลักสูตรเรื่องนี้จัดขึ้นอีกครั้งที่โรงแรมสวิสโฮเทล เลอร์คองคอร์ด แถว ๆ ถนนรัชดาฯ บรรยายโดยตัวจริงเสียงจริง อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์ ผู้ฝึกสอน Mind Map ซึ่งได้รับอนุญาตและได้รับสิทธิ์ในการใช้เครื่องหมาย Mind Map คนแรกในประเทศไทย (Buzan Licensed Instructor - BLI) ครับ
สร้างแผนที่ความคิดสู่การพัฒนาศักยภาพในการทำงาน กับอีกหนึ่งหลักสูตรที่ได้รับความนิยมสูงสุด
วันศุกร์ ที่ 27 มิ.ย.51 รร.สวิสโฮเต็ลฯ รัชดา
09.00 -16.00 น.
อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์
สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งด่วนที่ ธรรมนิติ โทร.0-2831-7300 กด1
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment