Wednesday, August 6, 2008

ThaiBev จัด Mind Mapping Workshop รุ่น 1,485

ThaiBev จัด Mind Mapping Workshop รุ่น 1,485 มีผู้เข้ารับการอบรมจากบริษัทในเครือจำนวน 34 ราย เช่นจากกาญจนสิงขร แสงโสม ไทยเบฟมาร์เก็ตติ้ง นำยุค อาคารแสงโสมส่วนขยาย มงคลสมัย เบียร์ทิพย์ โรงงานเบียร์วังน้อย แพนอินเตอร์ บางนาโลจิสติค ปุ๋ยไบโอนิค อาหารเสริม เทพอรุโณทัย เฟื่องฟูอนันต์ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) หรือ “ไทยเบฟ” จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเป็นบริษัทมหาชนจำกัดในประเทศไทยเมื่อเดือนตุลาคม 2546 โดยมีจุดประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและจำหน่ายเบียร์ สุรา น้ำดื่ม น้ำโซดา แอลกอฮอล์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์พลอยได้อื่นๆ รวมทั้งธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านบริษัทย่อยต่างๆ โดยมีบริษัทเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ ด้านงานสนับสนุนต่างๆ และกำกับดูแลภาพรวมกลุ่มบริษัท ต่อมาไทยเบฟได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (“SGX”) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2549 การจดทะเบียนครั้งนั้นได้รับความสนใจอย่างมาก และเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยระดมทุนได้ 1,574 ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือ 38,080 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของไทยเบฟ คือคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ครอบครัว และบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งถือหุ้นจำนวนประมาณร้อยละ 64.94 ของเงินทุนที่เรียกชำระแล้ว (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550) หุ้นส่วนที่เหลือถือโดยกลุ่มนักลงทุน ผู้ลงทุนสถาบัน และนักลงทุนรายย่อย ไทยเบฟไม่เพียงแต่เป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่ยังเป็นผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยร้อยละ 96.4 ของรายได้บริษัทมาจากธุรกิจในประเทศไทย ตั้งแต่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ไทยเบฟได้วางแผนกลยุทธ์เพื่อขยายกิจการไปยังต่างประเทศผ่าน International Beverage Holdings Limited (“IBHL”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยบริษัททั้งหมดเป็นผู้ดำเนินการ ปัจจุบัน IBHL ได้ตั้งสำนักงานขายใน 6 ประเทศ และเริ่มส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์หลัก 2 ชนิดคือ เบียร์ช้างและสุราแม่โขง ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และอื่นๆ รวมไปถึงการขยายตลาดสุราสก็อตวิสกี้ โดย Inver House Distillers Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ IBHL พ.ศ. 2329 - หลังสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานีเพียง 4 ปี ชาวบ้านเรียกชื่อโรงงานแห่งนั้นตามชื่อคลองว่า “โรงงานสุราบางยี่ขัน” ในยุคแรกมีเพียงการต้มกลั่นสุราขาว หรือเหล้าโรง โดยนายอากรจีนเป็นผู้ผลิตจำหน่าย และนำเงินส่งเข้าหลวงตามที่ตกลงกัน [ตัวอย่าง "แก่นแกน" ของ Mind Map เรื่อง "ตัวเอง" ของชาว ThaiBev รุ่น 1] [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] พ.ศ. 2470 - รัฐบาลเข้าดำเนินการโรงงานสุราเอง ผ่านกระทรวง อุตสาหกรรม และกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพสามิตในฐานะผู้รับผิดชอบโรงงานสุราบางยี่ขันในสมัยนั้น [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] พ.ศ. 2484 - แม่โขง ถือกำเนิด [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] พ.ศ. 2502 - รัฐบาลมีนโยบายให้เอกชนเช่าสัมปทานการผลิต และจำหน่ายสุราที่ผลิตจากโรงงานสุราบางยี่ขัน และโรงงานสุราอื่นๆ ของรัฐบาลครั้งละ10 ปี ในระหว่างนั้นความนิยมสุราแม่โขงได้เพิ่มมากขึ้น รัฐจึงให้สัมปทานใหม่ (พ.ศ.2522-2542) แก่ผู้ประกอบการรายใหม่ และให้สร้างโรงงานสุราใหม่อีกโรงงานหนึ่งที่จังหวัดปทุมธานีเมื่อ พ.ศ.2525 ส่วนกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ซึ่งมีโรงงานสุรา 32 แห่งทั่วประเทศ ได้ทำการปรับปรุงอุตสาหกรรมสุราในสังกัดของตนเอง โดยยกเลิกโรงงานเหล่านั้นทั้งหมดซึ่งมีสภาพเก่าและอยู่ในชุมชน จึงยุบโรงงานสุราดังกล่าว โดยให้เปิดประมูลสัมปทาน และสร้างโรงงานใหม่เพื่อผลิตและจำหน่ายสุราจำนวน 12 โรงงาน ใน 12 เขตพื้นที่ [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] พ.ศ. 2520 - แสงโสม ขวดแรก ถือกำเนิด โดยฝีมือการปรุงของนายจุล กาญจนลักษณ์ ผู้เชี่ยวชาญการปรุงสุรามือหนึ่งของเมืองไทย จาก โรงงานสุราแสงโสม จังหวัดนครปฐม ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดบริษัท แสงโสม จำกัด [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] พ.ศ. 2525 - แสงโสม ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการประกวดสุรา ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน ในปี พ.ศ. 2525 และ 2526 และชนะรางวัลการประกวดสุรา ณ เมืองดุซเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี ในปี พ.ศ. 2526 [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] พ.ศ.2534 - รัฐบาลเปิดเสรีอุตสาหกรรมเบียร์ในปี พ.ศ. 2534 จึงมีผู้ขอตั้งโรงงานเบียร์หลายราย เบียร์ช้าง เป็นเบียร์ไทยยี่ห้อเดียวที่ใช้พยัญชนะไทยในฉลากเบียร์อย่างภาคภูมิในความเป็นไทยออกสู่ตลาดในปี พ.ศ. 2538 - เบียร์ช้าง ถือกำเนิด [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] พ.ศ.2537 - 4 เมษายน เบียร์ช้างขวดแรกผลิตเสร็จสมบูรณ์จากโรงงานผลิตเบียร์ที่อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นโรงงานที่ร่วมก่อสร้างโดย บริษัท DANBREW A/S บริษัทก่อสร้างโรงงานเบียร์ชั้นนำของประเทศเดนมาร์ก [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] พ.ศ.2538 - เบียร์ช้าง วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] พ.ศ.2541 - เบียร์ช้างได้รับคัดเลือกให้เป็น เบียร์เหรียญทอง จากการประกวดเบียร์นานาชาติที่ประเทศออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2541 ประเภทเบียร์ลาเกอร์ ไม่จำกัดดีกรี [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] พ.ศ. 2542 - โรงงานเบียร์ ณ จังหวัดกำแพงเพชร เริ่มก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 มีอาณาบริเวณ 1,600 ไร่ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 32 เดือน ด้วยเงินลงทุน 9,000 ล้านบาท เริ่มการผลิตเบียร์ช้างครั้งแรกในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และเบียร์ช้างขวดแรกที่ผลิตจากโรงงานเบียร์ จังหวัดกำแพงเพชร เสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] พ.ศ.2543 - สัมปทานโรงงานสุราสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2542 และรัฐมีนโยบายเปิดเสรีการค้าสุรา บริษัท สุราบางยี่ขัน จำกัด ซึ่งอยู่ในเครือ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ชนะการประมูลซื้อโรงงานสุราบางยี่ขัน จังหวัดปทุมธานี และบริษัทในเครืออีก 11 บริษัท ชนะการประมูลซื้อโรงงานสุราของกรมสรรพสามิต 11 โรงงาน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยบริษัทในเครือจึงมีโรงงานสุราที่ซื้อจากรัฐบาลทั้งหมด 12 โรงงาน และเริ่มดำเนินกิจการตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 เป็นต้นมา [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] พ.ศ.2546 - มีการรวมตัวของบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตและจำหน่ายแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบริษัทธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง 58 บริษัท เป็น บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ด้วยทุนจดทะเบียน 20,000 ล้านบาทในเดือนตุลาคม พ.ศ.2546 ต่อมามีการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 22,000 ล้านบาทในเดือนธันวาคม [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] พ.ศ.2546 - บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วยบริษัทย่อยจำนวน 63 บริษัท [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] พ.ศ.2547 - เดือนกรกฎาคมเปิดตัว เบียร์อาชา ออกสู่ตลาด บริษัทฯ ยังผลิตแอลกอฮอล์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมผ่านทาง บมจ.ไทยแอลกอฮอล์ โดยผลิตเอทานอลเพื่อนำไปผสมกับน้ำมันเบนซินออกเทน 91 เพื่อผลิตเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ โดยบริษัทฯ ผลิตเอทานอลออกจำหน่ายตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2547 เพื่อรองรับความต้องการและตอบสนองนโยบายของรัฐบาล [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] พ.ศ.2549 - หุ้นของบมจ.ไทยเบฟเวอเรจ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ เข้าซื้อโรงงานสุราจากบริษัท สินสุรางค์การสุรา จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตสุราตราเสือขาว และเข้าซื้อบริษัท Pacific Spirits (UK) Limited ซึ่งมีกิจการโรงกลั่นสุรา Inver House Distillers ในประเทศสก็อตแลนด์ และเข้าซื้อบริษัท Best Spirits Companylimited [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน - เข้าซื้อบริษัท ประมวลผล จำกัด และบริษัท เอส.พี.เอ็มอาหารและเครื่องดื่ม จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตสุราตราหมีขาวและสินค้าอื่นๆ [ตัวอย่าง Mind Map ของชาว ThaiBev รุ่น 1] วิสัยทัศน์องค์กร “เราจะเป็นบริษัทผลิตเครื่องดื่มระดับแนวหน้าโดยมุ่งเน้นที่ความเป็นเลิศเชิงพาณิชย์ ความต่อเนื่องในการพัฒนาคุณภาพสินค้า ให้อยู่ในระดับพรีเมี่ยม และความเป็นมืออาชีพ” พันธกิจ เราจะประสาน “สัมพันธภาพ” กับผู้มีส่วนได้เสียที่มีความสำคัญกับบริษัทในทุกๆด้าน โดยมอบคุณค่าที่สำคัญ 6 ประการ • มอบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงสุดให้ลูกค้าทุกกลุ่ม • ให้บริการอย่างมืออาชีพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้แทนจำหน่าย • ให้ความสำคัญเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น ด้วยอัตราการเติบโตของรายได้และผลกำไรที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง • เป็นแบบอย่างในด้านความเป็นมืออาชีพ ความโปร่งใส และการดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล • มอบความไว้วางใจ อำนาจ และรางวัลแก่พนักงาน เพื่อสร้างความร่วมรับผิดชอบ • ทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม และสังคมท้องถิ่น

1 comment:

Anonymous said...

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล