Sunday, December 30, 2007
Mind Mapping Workshop 2550 ปีแห่งการศึกษา 260 รุ่น 45,706 คน
สรุป Buzan Centre (Thailand) จัด Mind Mapping Workshop ในปี 2550 ทั้งหมด 260 รุ่น ผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด 45,706 คน และมีบุคลากรในวงการศึกษาที่ผ่านการอบรม Mind Mapping Workshop ทั้งหมด 87 รุ่นจำนวน 39,042 คนในปีนี้
ปี 2550 นับปีแห่งการศึกษาประเดิมตั้งแต่ workshop แรกวันที่ 9 มกราคม อาจารย์ธงชัย โรจน์กังดาล ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชิญผมไปอบรมนิสิตปี่ที่ 4 จำนวน 52 จากนั้นตลอดทั้งปี อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์และผมร่วมกับบริษัทบีเจซี อินดัสเตรียลแอนด์เทรดดิ้ง ตระเวนทั่วประเทศ แนะนำ Mind Map (ตามต้นแบบของ Tony Buzan ผู้ประสิทธิ์ประสาท Mind Map) ให้เด็กนักเรียนประถม 5 (มีชั้นอื่นบ้างประปราย เช่น ประถม 6 และมัธยม 1) ดังรายการต่อไปนี้ :
19 ม.ค. 50 โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม 300 คน
23 ม.ค. 50 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา 330 คน
31 ม.ค. 50 โรงเรียน อัสสัมชัญศึกษา 300 คน
31 ม.ค. 50 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน 300 คน
จากนั้นก็ปิดภาคเรียนไปหลายเดือน กลับมาลุยจัดให้นักเรียนชั้นประถมต่อในเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน
7 มิย. 50 โรงเรียนรุ่งอรุณ (นครราชสีมา) 2 รุ่น1,000 คน
8 มิย. 50 โรงเรียนมารีวิทยา (นครราชสีมา) 2 รุ่น1,000 คน
8 มิย. 50 โรงเรียนเซนต์ปอนด์คอนแวนต์ (ชลบุรี) 400 คน
8 มิย. 50 โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา (ชลบุรี) 100 คน
18 มิย. 50 โรงเรียนศรีวิกรณ์ / ร.ร.เซนต์ดอมินิคส์ / ร.ร.แอดแวนติส (เอกมัย) รวม 693 คน
27 มิย. 50 โรงเรียนวชิรวิทย์ (เชียงใหม่) / โรงเรียนพระหฤทัย (เชียงใหม่) รวม 618 คน
28 มิย. 50 โรงเรียนปริ้นส์รอยแยล (เชียงใหม่) 3 รุ่น รวม 1,500 คน
28 มิย. 50 โรงเรียนมงฟอร์ต (เชียงใหม่) 2 รุ่น รวม 800 คน
29 มิย. 50 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล / โรงเรียนสายน้ำทิพย์ 2 รุ่น รวม 710 คน
4 กค. 50 โรงเรียนซางตาครูสศึกษา / โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ 2 รุ่น รวม 900 คน
9 กค. 50 โรงเรียนทอสี / โรงเรียนซางตาครูสคอนแวนต์ รวม 650 คน
11 กค. 50 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย / โรงเรียนอุดรคริสเตียน 2 รุ่น / โรงเรียนดอนบอสโก (อุดร)รวม 4 รุ่น 1,555คน
12 กค. 50 โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ / โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาบ้านน้อยสามเหลี่ยม / โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาขอนแก่น รวม 3 รุ่น 1,429คน
13 กค. 50 โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาเมืองพล / โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาอำเภอบ้านใหม่ รวม 2 รุ่น 760 คน
17 กค. 50 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร / โรงเรียนเซ็นต์หลุยต์ศึกษา / โรงเรียนเซนต์จอห์น รวม 3 รุ่น 640 คน
23 กค. 50 โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ / โรงเรียนสมถวิล / โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน รวม 3 รุ่น 896 คน
6 สค. 50 โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ / โรงเรียนเซนต์โยเซฟ (นครสวรรค์) 2 รุ่น / รวม 3 รุ่น 1,650 คน
7 สค. 50 โรงเรียนเซนต์นิโกลาส (พิษณุโลก) 3 รุ่น / โรงเรียนโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง (พิษณุโลก) 3 รุ่น / รวม 6 รุ่น 2,250 คน
7 สค. 50 โรงเรียนเซนต์โยเซฟระยอง / โรงเรียนอารีย์วัฒนา / รวม 3 รุ่น 603 คน
8 สค. 50 โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี (พิษณุโลก)/ โรงเรียนอนุบาลโรจนวิทย์ (พิษณุโลก) 3 รุ่น / รวม 4 รุ่น 2,100 คน
8 สค. 50 โรงเรียนเซนต์โยเซฟระยอง / โรงเรียนกวงฮั้ว (ระยอง) / รวม 2 รุ่น 570 คน
21 สค. 50 โรงเรียนอนุบาลนครปฐม / รวม 2 รุ่น 700 คน
21 สค. 07 โรงเรียนจิระศาสตร์ (อยุธยา) / โรงเรียนจอมสุรางค์ (อยุธยา) / รวม 2 รุ่น 1,090 คน
22 สค. 50 โรงเรียนภปร.ราชวิทยาลัย / รวม 2 รุ่น 600 คน
22 สค. 50 โรงเรียนยอแซฟอยุธยา / รวม 3 รุ่น 1,062 คน
27 สค. 50 โรงเรียนดรุณา (ราชบุรี) รวม 2 รุ่น 778 คน
27 ส.ค. 50 โรงเรียนอเวมารีอา (อุบลราชธานี)/โรงเรียนเบญจมะมหาราช (อุบลราชธานี)/ รวม 2 รุ่น 510 คน
28 สค. 50 โรงเรียนอเวมารีอา (อุบลราชธานี)/3 รุ่น / โรงเรียนมารีย์นิรมล (อุบลราชธานี)/ รวม 4 รุ่น 930 คน
28 สค. 50 โรงเรียนยู่เฉียวเซียะเสียว (กาญจนบุรี) / โรงเรียนวีรศิลป์ (กาญจนบุรี) / โรงเรียนถาวรวิทยา (กาญจนบุรี) รวม 3 รุ่น 1,436 คน
29 สค. 50 โรงเรียนนารีวิทยา (ราชบุรี) รวม 2 รุ่น 1,010 คน
29 สค. 50 โรงเรียนอัสสัมชัญ (อุบล) / โรงเรียนนารีนุกูล (อุบล) รวม 2 รุ่น 1,100 คน
17 กย. 50 โรงเรียนทิวไผ่งาม 250 คน
19 พย. 50 โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา (ภูเก็ต) 2 รุ่น / ร.ร.มานิตานุเคราะห์ (สุราษฎร์ธานี) 2 รุ่น / รวม 4 รุ่น 1,070 คน
20 พย. 50 โรงเรียนเทพมิตรศึกษา (สุราษฎร์ธานี) 2 รุ่น / ร.ร.ภูเก็ตวิทยาลัย 2 รุ่น / รวม 4 รุ่น 1,500 คน
21 พย. 50 โรงเรียนดาราสมุทร (ภูเก็ต) / ร.ร.ธิดาแม่พระ (สุราษฎร์ธานี) รวม 4 รุ่น 2,500 คน
รวมทั้งหมดที่ Buzan Centre (Thailand) ร่วมกับบริษัทบีเจซี อินดัสเตรียลแอนด์เทรดดิ้ง ทั้งหมด 60 โรงเรียน 87 รุ่น จำนวนนักเรียนทั้งหมด 36,590 คน
นอกจากนั้นยังจัดให้กับนักเรียน นิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์และบุคลากรในวงการศึกษาอีก ดังนี้ :
27 มค. 50 Public, Buzan Centre (Thailand) สำหรับเยาวชนทั่วไป 17 คน
21 เม.ย. 50 Public, Buzan Centre (Thailand) สำหรับเยาวชนทั่วไป 39 คน
26 เม.ย. 50 สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) - เยาวชน 16 คน
24 เม.ย. 50 ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 50 คน
28 เม.ย 50 นักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 120 คน
3 พค. 50 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยอ- เยาวชน 50 คน
21 พค. 50 สโมสรราชพฤกษ์ (เด็ก) 10 คน
28 พค. 50 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะแพทย์ฯ 180 คน
22 มิย. 50 ม.กรุงเทพ (ศูนย์รังสิต) 300 คน
18 กค. 50 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 200 คน
21 กค. 50 Public, Buzan Centre (Thailand) สำหรับเยาวชนทั่วไป 13 คน
21 กย. 50 สำนักพัฒนานวัตกรรมการศึกษา (ศึกษานิเทศก์) 175 คน
22 ก.ย. 50 สำนักพัฒนานวัตกรรมการศึกษา (ครู) 350 คน
29 กย. 50 สามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย 26 รูป
11 ตค. 50 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย- เยาวชน 55 คน
16 ตค. 50 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย- เยาวชน 46 คน
25 ตค. 50 สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) - เยาวชน 50 คน
24 พย. 50 Public, Buzan Centre (Thailand) สำหรับเยาวชนทั่วไป 37 คน
25 ธค. 50 สถาบันแห่งชาติเพื่อพัฒนาเด็กและครอบครัว 290 คน
25 ธค. 50 ครูอาจารย์ - เพชรบูรณ์ 230 คน
26 ธค. 50 ครูอาจารย์ - พิษณุโลก 71 คน
27 ธค. 50 ครูอาจารย์ - โรงเรียนดาราวิทยาลัย เชียงใหม่ 65 คน
เมื่อรวมกับนิสิตปี่ที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 52 ที่จัดเป็นรุ่นแรกของปี ก็เป็นจำนวน 2,442 คน จึงเป็นยอดรวมนักเรียน นิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์และบุคลากรในวงการศึกษาที่ผ่านการอบรม Mind Mapping Workshop ทั้งหมด 39,042 คนในปี 2550 นับว่าเป็นประวัติการของ Buzan Centre (Thailand).
Mind Mapping Workshop # 1,262 และ Introduction to Brain Gym # 2 โรงเรียนดาราวิทยาลัย เชียงใหม่
โรงเรียนดาราวิทยาลัย เป็นโรงเรียนของมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย จัดอยู่ในประเภทโรงเรียนสามัญศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับมัธยมปลาย ปัจจุบันมีนักเรียนกว่า ๗,๔๒๐ คน ตั้งอยู่ริมถนนแก้วนวรัฐ ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
โรงเรียนดาราวิทยาลัย เป็นโรงเรียนสตรีแห่งแรกของภาคเหนือ ก่อตั้งโดย
ศาสนาจารย์ ดร.ดานิเอล และนาง มากาเร็ต แมคกิลวารี มิชชั่นนารีชาวอเมริกัน เพื่อให้การศึกษาแก่สตรีได้เรียนหนังสือทัดเทียมกับผู้ชาย ดังนั้น นางมากาเร็ต แมคกิลวารี จึงได้เปิดสอนเด็กผู้หญิง ขึ้นที่บ้านพักของท่าน เมื่อปี พ.ศ.2421
โดยสอนการเย็บปักถักร้อยและคริสตจริยธรรม ต่อมาผู้ปกครองได้เริ่มเห็นความสำคัญของการให้การศึกษาแก่สตรี จึงส่งบุตรหลานไปเรียนหนังสือมากขึ้น ทางมิชชั่นนารีก็ได้รายงานไปยังสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพฯและสำนักงานใหญ่ได้ส่งครู มาช่วยสอนจนสามารถจัดตั้งเป็นโรงเรียนสตรีแห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ใช้ชื่อ
ว่า"โรงเรียนสตรี" สถานที่ตั้งคือเชิงสะพานนวรัฐ (ปัจจุบันคือที่ตั้งของคริสตจักรที่หนึ่ง เชียงใหม่)
ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนสตรีพระราชชายา" เมื่อปี พ.ศ. 2431 ได้ซึ่งได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำพระนามของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระชายาของพระองค์ มาเป็นนามของโรงเรียน และทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ของโรงเรียน
จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2466 ย้ายสถานที่ตั้งแผนกมัธยมของโรงเรียนไปอยู่ที่ ตำบลหนองเส้ง และใช้ชื่อว่า
"โรงเรียนดาราวิทยาลัย"
โรงเรียนก็ได้เปิดแผนกมัธยมปลายขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2490 และปี 2506 ได้ย้ายแผนกอนุบาล และประถมจากเชิงสะพานนวรัฐมารวมกันที่ 196 ถนนแก้วนวรัฐอันเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบันนี้
อาจารย์ระวิวรรณ ทองศรีแก้วเคยเดินทางจากเชียงใหม่มาเข้า Public Mind Mapping Workshop # 1,248 เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ แล้วรู้ข่าวว่าอาจารย์ขวัญฤดีและผมจะเดินทางมาเพชรบูรณ์และพิษณุโลกปลายปี และจะพาครอบครัวขึ้นมาเที่ยวเชียงใหม่ และอยากจะแวะคุยกับอาจารย์ระวิวรรณเรื่องการนำ Brain Gym มาใช้ในการเรียนการสอนที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย
จึงเสนอว่าไหน ๆ ก็มาถึงเชียงใหม่แล้ว ขอให้จัด Mind Mapping Workshop และแนะนำ Brain Gym ให้กับคณาจารย์ของโรงเรียนดาราวิทยาลัยเสียเลย เราสองคนก็ตกลง
ในชั้นแรก อาจารย์ระวิวรรณคาดว่าจะมีผู้เข้ารับการอบรมเพียงประมาณ ๑๐ คน เพราะเป็นช่วงวันหยุดยาวของโรงเรียน แต่ปรากฏว่าถึงวันจริง วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๐ มีครูอาจารย์จากทุกระดับชํ้นรวมั้งปฐมวัยแจ้งความจำนงถึง ๖๕ คน ต้องใช้ห้องประชุมใหญ่แผนกอนุบาลอบรม
ด้วยความกรุณาของท่านผู้อำนวยการ ดร. รัศมี แสงสุวรรณ คณะของเราจึงได้พักสองคืน ณ อาคาร "แมรี่ แคมป์เบลล์" อาคารห้องพักอาจารย์ชาวต่างประเทศ ซึ่งเพิ่งทำพิธีเปิดไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 ห้องพักสะดวกสบายมาก
[ตัวอย่าง Mind Maps ผู้เข้ารับการอบรม]
[ตัวอย่าง Mind Maps ผู้เข้ารับการอบรม]
[ตัวอย่าง Mind Maps ผู้เข้ารับการอบรม]
[ภาพที่ 4 อาจารย์ระวิวรรณ ทองศรีแก้ว]
[ภาพที่ 5]คุณมาริสา ผู้ปกครองนักเรียนที่มาเข้ารับการอบรมด้วย]
[ภาพที่ 6 บรรยากาศในห้องอบรม]
[ภาพที่ 7 ดช. ข้าวกล้า กับ ธัญญา ผลอนันต์]
[ภาพที่ 8 ดร. รัศมี แสงสุวรรณ]
[ภาพที่ 9 ดร. รัศมี แสงสุวรรณมอบของที่ระลึกให้อจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์]
[ภาพที่ 10 อบรมครั้งนี้มีประกาศนียบัตรด้วย]
[ภาพที่ 11 อาคารแมรี่ แคมป์เบลล์]
Mind Mapping Workshop # 1,261 สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิษณุโลก
อาจารย์นาวิน ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เคยเข้ารับการอบรม รุ่น ๑๒๐๔ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "การประชุมปฏิบัติการจัดการความรู้เพื่อถอดบทเรียนการสอนคิดของโรงเรียนแกนนำขับเคลื่อนการคิดสู่ห้องเรียนให้กับครูแกนนำขับเคลื่อนการคิดสู่ห้องเรียน" ซึ่งจัดโดย สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๐ แล้วประสงค์จะขยายผลนำ Mind Map เข้าสู้ห้องเรียน จึงประสานงานกับ Buzan Centre (Thailand)นำอาจารย์ขวัญฤดีและผมมาพบกับครูอาจารย์ชาวพิษณุโลก
เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๐ ณ โรงแรมน่านเจ้า ครูแกนนำจำนวน ๗๑ คนจากเขต ๒ และ ๓ ได้เข้ารับการอบรม Mind Mapping Workshop # 1,261 เป็นส่วนหนึ่งของ "การพัฒนากระบวนการคิดลงสู่ห้องเรียนโดยแผนที่ความคิด"
[ภาพบนสุด แก่นแกน "เพื่อน"]
[ภาพที่ 2 บรรยากาสห้องอบรม]
[ภาพที่ 3 อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์สนทนากับผู้เข้ารับการอบรม]
[ภาพที่ 4-5 บรรยากาสห้องอบรม]
[ภาพที่ 6 Back Drop]
[ภาพที่ 7 อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์กับผู้บริหารการศึกษาจังหวัดพิษณุโลก]
Saturday, December 29, 2007
Mind Mapping Workshop # 1,260 สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพชรบูรณ์
อนุสนธิจากการจัด Mind Mapping Workshop รุ่น 1,204 และ 1,205 เมื่อวันที่ 21-24 กันยายน 2550 ให้กับ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นส่วนหนึ่งของ การประชุมปฏิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อถอดบทเรียนการสอนคิดของโรงเรียนแกนนำขับเคลื่อนการคิดสู่ห้องเรียนให้กับครูแกนนำขับเครื่อนการคิดสู่ห้องเรียน รวม 350 โรงเรียน และศึกษานิเทศก์ที่ร่วมเป้นวิทยากรพี่เลี้ยงอีก 175 และผู้สนใจเข้าสมทบอีกจำนวนหนึ่ง รวมประมาฌ 530 คน ผู้เข้ารับการอบรมจำนวนหนึ่งต้องการขยายผล และนำวิธีเขียน Mind Map แบบที่ถูกต้องตามแนวคิดของ Tony Buzan ผู้ประสิทธิ์ประสาท Mind Map จึงประสานมายัง Buzan Centre (Thailanbd) เพื่อนำความรู้ที่ถูกต้องสู่ท้องถิ่น
อาจารย์อนงค์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหล่มสัก เพชรบูรณ์ ได้รวบรวมครูแกนนำและโรงเรียนในเครือข่าย รวมทั้งโรงเรียนมัธยมในหล่มสักจำนวน 230 คน มารับการอบรม "ประชุมปฏิบัติการจัดการความรู้เพื่อต่อยอดการสอนคิด ของโรงเรียนแกนนำ โรงเรียนเครือข่ายและโรงเรียนมัธยมปลาย" ในวันที่ 25 ธันวาคม 2550 วัน X-mas พอดี โดยจัดขึ้นที่โรงแรม หล่มสัก ณัฐติรัตน์ แกรนด์ โฮเต็ล
รองผอ. สุรัตน์ เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิด และบรรยายพิเศษ เรื่องการคิด สรุปว่าคนไทยมีปัญหาเรื่องการคิดอยู่ 4 ประการ คือ ๑. คิดผิด/คิดมิชอบ ๒. คิด ๓.คิด ๔.คิดแล้วไม่ทำ (ดีแต่คิด)
ช่วงแข่งกันคิดเรื่อง แปรงสีฟันทำอะไรได้บ้างนอกจากสีฟัน ปรากฏว่าอาจารบ์เดชา ชัยสิทธิ์ แห่งโรงเรียนบ้านวังกวาง (สพท. พช. เขต ๒) ตำบลวังกวาง น้ำหนาว สามารถจดความคิดได้ถึง 41 รายการ
ผู้สังเกตการณ์จากวงการศึกษาในเพชรบูรณ์หลายท่าน เช่น อาจารย์ชัยศักดิ์ เกษามูล ผู้อำนวยการ โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม อำเภอเขาค้อ
[ภาพบนสุด อาจารย์เดชา ชัยสิทธิ์]
[ภาพที่ 2 บรรยากาศในห้องอบรม]
[ภาพที่ 3 ขวัญฤดี ผลอนันต์]
[ภาพที่ 4-7 บรรยากาศในห้องอบรม]
[ภาพที่ 8 ธัญญา ผลอนันต์ อาจารย์อนงค์ และอาจารย์ชัยศักดิ์ เกษามูล ]
ขึ้นเหนือเพื่อวงการศึกษา
ระหว่างวันที่ 24-29 ธันวาคม 2550 อาจารย์ขวัญฤดีและผมเดินทางขึ้นเหนือสามจังหวัด เพื่อจัด Mind Mapping Workshops ใหักับบุคลากรในวงการศึกษาสามกลุ่ม คือครูอาจารย์ทั้งในสถาบันการศึกษาภาครัฐและเอกชนรวม 366 คน
สรุปการเดินทาง 6 วันเป็น Mind Map ที่เขียนด้วยโปรแกรม iMindMap ได้ดังภาพประกอบ
Saturday, December 22, 2007
Mind Mapping Workshop รุ่น 1259 Introduction to Brain Gym รุ่น 1 สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นปลื้มคนฟังเต็มห้องปร
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวสถาปนาหลังการประชุมสุดยอดเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2533 รัฐบาล ไทยได้จัดทำแผนปฏิบัติการหลักของปฏิญญาเพื่อเด็กไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งกำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบันวิชาการระดับชาติ สำหรับพัฒนาเด็กและครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับอนุมัติหลักการ ตามมติคณะรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2537
มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเสนอเป็นแกนจัดตั้ง ซึ่งคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ได้อนุมัติโครงการ การจัดตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 และได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2540 โดยมี รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนิตยา คชภักดี เป็นผู้อำนวยการผู้ก่อตั้ง อาคารสถาบันก่อสร้างเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2549 ถึงปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ อัจฉราพรรณ จรัสวัฒน์ เป็นรองผู้อำนวยการสถาบันฯ โดยมีปณิธานว่า “สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มุ่งมั่น สร้างสรรค์ พัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว ให้เต็มศักยภาพทุกด้าน พร้อมเอื้อ ประโยชน์ต่อชุมชน”
รศ.ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เป็นผู้บุกเบิกรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษามากว่า 20 ปี รายการ “รักลูกให้ถูกทาง” ออกอากาศมาแล้ว 21 ปี ทางช่อง 7 ในอดีตและช่อง 11 ในปัจจุบัน อาจารย์ขวัญฤดีและผมมีโอกาสไปออกอากาศในรายการของดร.สายฤดีคนละสองครั้ง และครั้งนี้ดร.สายฤดีก็ให้โอกาสมาพบผู้สนใจจำนวนมาก
การบรรยายพิเศษ เรื่อง "พัฒนาสมองด้วยเทคนิค Brain Gym และ Mind Map" โดย อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์ นักวิชาการอิสระด้านการศึกษาและการจัดการความรู้ระหว่างเวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุม สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มีผู้ปกครอง นิสิตนักศึกษาและอาจารย์มารับฟังจำนวนประมาณ 290 คน เต็มห้องประชุมใหญ่ รศ.ดร.สายฤดี ถึงกับออกปากว่าปลื้มใจจัดแล้วมีคนมาเต็มห้อง บางคนมาจากบางเขน บางคนก็มาจากบางเลน ทั่วสารทิศ
การบรรยายของอาจารย์ขวัญฤดีในวันนี้นับได้ว่าเป็นการเปิดตัวเรื่อง Brain Gym อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก หลังจากที่สำนักพิมพ์ขวัญข้าว ’๙๔ ได้ตีพิมพ์หนังสือชุด เป็นภาษาไทยมาแล้วครบชุด 7 เล่ม
โชคดีซ้ำสองก็คือ ได้มีโอกาสพบ ดร. ประภาพรรณ จูเจริญ ผู้ช่วยผู้อำนายการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ซึ่งเป็นนักประสาทวิทยาศาสตร์ หวังว่าคงจะได้รับความรู้จากอาจารย์ประภาพรรณเพิ่มเติมในอนาคต เพราะงานที่อาจารย์ขวัญฤดีและผมทำอยู่ก็อาศัยพื้นฐานความรู้เรื่องสมองเป็นหลัก
Thursday, December 20, 2007
Mind Mapping Workshop # 1258 – TPIPL: ใช้งานจริง ทั้งธุรกิจและการเมือง
TPI Polene Plc (TPIPL) บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทผลิตปูนซีเมนต์ชั้นนำที่สามารถครองสัดส่วนการตลาดในประเทศได้ประมาณร้อยละ 20 ในช่วงระยะเวลาเพียง 10 ปี ครองความเป็นผู้นำในสัดส่วนการตลาดในประเทศสำหรับปูนสำเร็จรูป เป็นหนึ่งในบริษัทผลิตปูนซีเมนต์ชั้นนำของทั้งในและระหว่างประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำสุด เป็นบริษัทผลิตปูนซีเมนต์รายแรกในประเทศที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ด้านคุณภาพ ISO 9002 จากสถาบันนานาชาติ
บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ได้รับใบประกาศเกียรติคุณดีเด่นด้าน การบริหาร และคุ้มครองด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งด้านการจัดการ และดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
TPIPL จัด Mind Mappig Workshop ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2549 (รุ่น 818) หลังจากผู้บริหารได้ชมรายการ คนหลังข่าว สัมภาษณ์ผมเรื่อง Mind Map กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมีผู้บริหารระดับสูงและทีมงานเข้ารับการอบรม 50 คน
ต่อมาจัด TPIPL เป็นครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2549 (รุ่น 893) โดยมีผู้บริหารระดับผู้จัดการฝ่าย เข้ารับการอบรมอีกประมาณ 50 คน และเมื่อวันที่ 30 เดือนกันยายนปีเดียวกัน ก็ได้จัดให้กับ บริษัท ทีพีไอ คอนกรีต ซึ่งเป็นบริษัทในเครืออีกรุ่นมีผู้เข้ารับการอบรม 49 คน
วันที่ 20 ธันวาคม 2550 TPIPL จัด Mind Mapping Workshop ให้กับผู้บริหาร หัวหน้างานและพนักงานปฏิบัติการอีกครั้งรวมผู้เข้ารับการอบรม 49 คน คุณบัณฑิต สุขสวิง ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้เปิดการฝึกอบรม
คุณบัณฑิตเคยเข้ารับการอบรมรุ่นที่สองของ TPIPL เล่าว่าหลังจากอบรมแล้ว ผู้เข้ารับการอบรมก็นำไปใช้ทั้งในงานและครอบครัว และยังเล่าอีกว่า ขณะนี้พนักงานส่วนหนึ่งก็ออกไปช่วยคุณประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รณรงค์ทางการเมือง และเพื่อให้ผู้ที่ออกไปพบชาวบ้าน จำนโยบายของพรรคมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งมีอยู่ถึง 40 กว่าข้อได้ จึงได้เขียน Mind Map แยกนโยบายออกเป็นกลุ่ม เมื่อไปพบประชาชนกลุ่มก็จะได้เน้นเฉพาะนโยบายที่สอดคล้องกันความสนใจของกลุ่มนั้น ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ใช้ Mind Map ทั้งเชิงธุรกิจและด้านการเมือง
Labels:
Mind Map,
Mind Mapping Workshop,
Mind Maps,
TPIPL,
ธัญญา ผลอนันต์
Monday, December 17, 2007
Mind Mapping Workshop # 1257 ธนาคารแห่งประเทศไทย มองจากปลายหญ้า ตาเห็นดวงดาว
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2550 ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง จัด Mind Mapping Workshop # 1257 ให้กับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของฝ่ายจำนวน 35 คน ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคาร 3 สำนักงานใหญ่ธนาคารแห่งประเทศไทย
คุณธดล ปทุมหยกกล่าวเปิดการอบรม โคยคาดหวังว่าการอบรมในวันนี้ เข้ารับการอบรมจะได้ ความรู้ในการเขียน Mind Map ควบคู่กับความสนุกสนานเพลิดเพลิน
และรุ่นนี้ Mind Map ที่ได้ดาวสูงสุด 8 ดวงจากเพื่อนร่วมรุ่นเป็นของคุณ พชรนันท์ เกษมชัยนันท์ และรองลงมา 6 ดวงเป็น Mind Map ขอุงคุณสุขใจ วงวัยศิริวัฒน์
คุณศิริ หาญพาณิชเจริญ กล่าวปิดว่า Mind Map ช่วยผู้เข้ารับการอบรมสามารถมองจากปลายหญ้า ตาเห็นดวงดาว
Subscribe to:
Posts (Atom)