Sunday, December 16, 2007
NSRC - Mind Mapping Workshop # 1256 ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้บริการแสงซินโครตรอนสำหรับนักวิจัยทั่วประเทศ โดยผลิตแสงซินโครตรอนจากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ซึ่งเป็นระบบเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็คตรอน และวงกักเก็บอิเล็คตรอนขนาดพลังงาน 1.2 GeV ปัจจุบันมีระบบลำเลียงแสงที่เปิดให้บริการแล้ว 3 ระบบ และอยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบ และก่อสร้างเพิ่มเติมอีกหลายระบบ
ประวัติ
แนวความคิดในการก่อสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนในประเทศไทย เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยสภาวิจัยแห่งชาติในขณะ นั้นได้อนุมัติให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ จากนั้นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการชั้นนำของประเทศไทยจากสถาบันต่างๆ 5 ท่าน ได้เดินทางไป ยังประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน และงานวิจัยด้านแสงซินโครตรอน และ ได้รายงานสรุปผลการศึกษา จากนั้นได้มีการจัดตั้งกลุ่มทำงาน ประกอบด้วยนักฟิสิกส์ 15 ท่าน เพื่อเพื่อร่างโครงการเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ของประเทศไทย และในปี พ.ศ.2537 กลุ่มทำงานได้ตัดสินใจออกแบบเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ซึ่งมีวงกักเก็บอิเล็กตรอนระดับพลังงาน 1 ถึง 1.3 GeV
ในปลายปี 2538 ประเทศไทยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 1 GeV ของกลุ่มบริษัท SORTEC Corperation ใน Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดโครงการวิจัยระยะสิบปีในเดือนมีนาคม 2539 และมีความเป็นไปได้ที่กลุ่มบริษัท SORTEC Corperation จะทำการบริจาคเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนดังกล่าว
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการจากประเทศไทยได้เดินทางไปยังเมือง Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น เพื่อตรวจสอบเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนของกลุ่มบริษัท SORTEC Corperation และพบว่ายังอยู่ในสภาพที่ดี ดังนั้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2539 สภาวิจัยแห่งชาติในขณะนั้นได้ตัดสินใจเสนอโครงการแสงสยาม (Siam Photon Project) เข้าไปยังรัฐบาลไทย และในวันที่ 5 มีนาคม 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการแสงสยาม และการก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติขึ้น
เครื่องกำเนิดแสงสยาม ( Siam Photon Source ) เป็นเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ประกอบด้วยระบบเครื่องเร่งอนุภาคและวงกักเก็บอิเล็กตรอนระดับพลังงาน 1 GeV ซึ่งดัดแปลงจากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนที่ได้รับบริจาคจากกลุ่มบริษัท SORTEC Corperation ประเทศญี่ปุ่นให้เป็นเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนที่สามารถให้บริการแสงซินโครตรอนความจ้าสูง ( high brilliant light source ) สำหรับงานวิจัยด้านต่างๆ ทั้งทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์
ในการก่อสร้างเครื่องกำเนิดแสงสยาม จึงทำการดัดแปลง และออกแบบส่วนของวงกักเเก็บอิเล็กตรอนและส่วนประกอบบางส่วนใหม่ ดังนี้
ขยายขนาดของวงกักเก็บอิเล็กตรอน เพื่อเพิ่มส่วนทางตรง ( straight sections ) สำหรับติดตั้งอุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า insertion dMind Mapping Workshop รุ่น 1256
evices ทั้งประเภท undulator สำหรับเพิ่มความจ้าของแสงซินโครตรอน และประเภท wiggler สำหรับขยายช่วงพลังงานแสงซินโครตรอนขึ้นไปถึงระดับ hard x-rays โดยวงกักเก็บอิเล็กตรอนของเครื่องกำเนิดแสงสยาม จะมีช่วงทางตรง 4 ช่วง สำหรับติดตั้ง insertion device ได้ 4 ชิ้น
เปลี่ยนโครงสร้าง หรือ lattice ของวงกักเก็บอิเล็กตรอนมาเป็นแบบที่เรียกว่า double bend acromat ( DBA ) เพื่อลดขนาด emittance สำหรับการผลิตแสงซินโครตรอนความจ้าสูง
สร้างท่อสุญญากาศ (vacuum chamber) ของวงกักเก็บอิเล็กตรอนใหม่
สร้างระบบลำเลียงอนุภาคพลังงานสูง (High Energy Beam Transport Line) สำหรับลำเลียงอิเล็กตรอนจากเครื่องเร่งอนุภาคเข้าสู่วงกักเก็บอิเล็กตรอนใหม่
ออกแบบ และจัดสร้าง insertion device เพื่อผลิตแสงซินโครตรอนสำหรับงานวิจัยด้านต่างๆ
เปลี่ยนระบบควบคุมเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ให้เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย
Mind Mapping Workshop รุ่น 1256
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2550 ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ ได้จัด Mind Mapping Workshop รุ่น 1256 ขึ้นให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ รวม 29 คน ณ โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา เนื่องจาก ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ เป็นเรื่องสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ แต่ไม่สู้จะเป็นที่รู้ในวงกว้าง ชั่วโมงสุดท้าย คณะผู้เข้ารับการอบรมจึงแบ่งกลุ่มกัน เพื่อจัดทำ Mind Map เพื่อประชาสัมพันธ์ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ
National Synchrotron Research Center
The National Synchrotron Research Center is a research institute operating the Siam Photon Source (SPS), a 1.2 GeV synchrotron light source. The SPS is now in routine operation with 3 beamlines completed and opened for users. 3 more beamlines are under construction, and a few more are planned.
NSRC organized Mind Mapping Workshop for its 29 staff on Decdember 15, 2007.
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment