Sunday, October 5, 2008
ไอสไตน์สอนเรื่องความฉลาดและความเฉลียว
ไอสไตน์ถามนักศึกษาในห้องเรียนวันหนึ่งว่า "มีคนซ่อมปล่องไฟสองคนซ่อมปล่องไฟเก่าปล่องเดียวกันอยู่ พอซ่อมเสร็จ ทั้งสองตามกันออกมาจากปล่องไฟ ปรากฏว่า คนหนึ่งตัวสะอาด อีกคนตัวเลอะเทอะ เต็มไปด้วยเขม่า ขอถามหน่อยว่า คนไหนจะไปอาบน้ำก่อนกัน"
นักศึกษาคนหนึ่งตอบว่า "ก็ต้องคนที่ตัวสกปรกเลอะเขม่าควันสิครับ"
ไอสไตน์ พูดว่า "งั้นเหรอ คุณลองคิดดูให้ดีนะคนที่ตัวสะอาดเห็นอีกคนที่ตัวสกปรกเต็มไปด้วยเขม่าควันเขาก็ต้องคิดว่าตัวเองออกมาจากปล่องไฟเก่าเหมือนกัน ตัวเขาเองก็ต้องสกปรกเหมือนกันแน่ๆเลย ส่วนอีกคน เห็นฝ่ายตรงข้ามตัวสะอาดก็ต้องคิดว่าตัวเองก็สะอาดเหมือนกัน ตอนนี้ ผมขอถามพวกคุณอีกครั้งว่า ใครที่จะไปอาบน้ำก่อนกันแน่"
นักศึกษาคนหนึ่งพูดขึ้นมาด้วยความตื่นเต้นว่า "อ้อ ! ผมรู้แล้ว พอคนตัวสะอาดเห็นอีกคนสกปรกก็นึกว่าตัวเองต้องสกปรกแน่ แต่คนที่ตัวสกปรก เห็นอีกคนสะอาด ก็นึกว่าตัวเองไม่สกปรกเลย ดังนั้นคนที่ตัวสะอาดต้องวิ่งไปอาบน้ำก่อนแน่เลย .....ถูกไหมครับ...."
ไอสไตน์มองนักศึกษาทุกคน ทุกคนต่างเห็นด้วยกับคําตอบนี้
ไอสไตน์ ค่อยๆ พูดขึ้นด้วยหลักการและเหตุผลว่า "คําตอบนี้ก็ผิด ทั้งสองคนออกมาจากปล่องไฟเก่าเหมือนกัน จะเป็นไปได้ไงที่คนหนึ่งสะอาดอีกคนหนึ่งจะสกปรก นี่แหละที่เขาเรียกว่า 'ตรรก' เมื่อความคิดของคนเราถูกชักนําจนสุดขั่ว ก็จะไม่สามารถแยกแยะและคิดถึงเหตุผลในเรื่องราวที่ถูกจูงให้คิดได้"
คำตอบที่ถูกต้องจะออกมาได้ ต้องใช้ 'ตรรกที่ถูกต้อง' ที่ประกอบด้วยทั้งความฉลาดและความเฉลียว เราจะหาตรรกได้ก็ต้อง
กระโดดออกมาจาก "พันธนาการของความเคยชิน" หลบเลี่ยงจาก "กับดักทางความคิด" หลีกหนีจาก .สิ่งที่ทําให้หลงทางจากความรู้จริง" ขจัด "ทิฐิแห่งกมลสันดาน" และ "สมมติฐานที่ผู้อื่นยัดเยียดให้"
จะเข้าถึง ตรรกที่แท้จริง ได้ก็ต่อเมื่อ คุณสลัดหมากทั้งหมดที่คนเขาจัดฉาก วางล่อคุณไว้
ฉลาดอย่างเดียวจึงไม่พอ ต้อง "เฉลียวฉลาด"
[ปลาฉลาด]
พจนานุกรมฉบับมติชนอธิบายสองคำนี้ไว้ดังนี้
[ฉลาด ๑ ว.มีไหวพริบดี, มีปัญญาดี. ๒ น. ชื่อปลาน้ำจืดคล้ายปลากราย ครับท้องยาวไปจรดครับหาง พื้นตัวสีขาว, สลาด หรือ ตอง ก็ เรียก]
[เฉลียว กใ มีไหวพริบ: นึกระแวงขึ้นมา เช่น ไม่เฉลียวใจว่าจะโดยโกง]
[เฉลียวฉลาด ว. มีไหวพริบและปัญญาดี]
[คนฉลาด]
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment