Friday, October 3, 2008
ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ธนาคารออมสิน จัด Mind Mapping Workshop รุ่น 1623
“แบงค์ลีฟอเทีย” ต้นแบบการออม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์ เพื่อให้ประชาชนรู้จักการประหยัด การเก็บออม มีสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินเงินทองของประชาชน ให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย จึงทรงริเริ่มจัดตั้งคลังออมสินทดลองขึ้น โดยทรงพระราชทานนามแบงค์ว่า “ลีฟอเทีย” ในปี พ.ศ. 2450 เพื่อทรงใช้ศึกษาและสำรวจนิสัยคนไทยในการออมเบื้องต้น พระองค์ทรงเข้าใจในราษฎรของพระองค์และทรงทราบดีว่าควรใช้กุศโลบายใดอันจะจูงใจคนไทยให้มองเห็นความสำคัญของการออม
กำเนิดธนาคารออมสิน
ยุคที่ 1 คลังออมสิน สังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ. 2456 – 2471 เพื่อให้คลังออมสินได้เป็นประโยชน์เกื้อกูลเผื่อแผ่ไปถึงราษฎรโดยทั่วกัน พระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการจัดตั้ง “คลังออมสิน” ขึ้น ในสังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และพระราชทานพระบรมราชานุญาตประกาศใช้ “พระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456” ประกาศใช้ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456
เติบโตอย่างรุดหน้า
ยุคที่ 2 กองคลังออมสิน สังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พ.ศ. 2472 - 2489 ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชดำริเห็นควรโอนกิจการคลังออมสินให้้ไปอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข กิจการได้เริ่มแพร่หลายและเป็นที่นิยมของประชาชนอย่างกว้างขวาง ซึ่งนับได้ว่ากิจการคลังออมสินในช่วงระยะนี้เติบโตขึ้นมาก จึงเรียกได้ว่าเป็น “ยุคแห่งความก้าวหน้าของการคลังออมสินแห่งประเทศไทย”
รากฐานความมั่นคง
ยุคที่ 3 ธนาคารออมสิน สังกัดกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2490 – ปัจจุบัน ต่อมาภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง รัฐบาลได้เห็นถึงคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์และความสำคัญของคลังออมสินที่มีต่อการพัฒนาประเทศ จึงได้ยกฐานะของคลังออมสินขึ้นเป็นองค์การของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินธุรกิจภายใต้ “พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489” มีการบริหารงานโดยอิสระ ภายใต้การควบคุมของ คณะกรรมการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง เริ่มดำเนินธุรกิจในรูปธนาคารออมสินตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2490 และคำว่า “คลังออมสิน” ก็ได้เปลี่ยนเป็นคำว่า “ธนาคารออมสิน” นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
โฉมใหม่สู่ความทันสมัยครบวงจร
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธนาคารออมสินได้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงพัฒนาระบบการดำเนินงานและการบริการ ในทุกด้านอย่างเป็นพลวัตร ธนาคารจึงได้ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เพื่อรักษาฐานลูกค้ามากกว่า 26 ล้านบัญชี โดยระดมทรัพยากรในทุกด้านเตรียมการเพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์และรูปแบบการให้บริการที่ทันสมัยและครบวงจรยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการให้บริการที่สอดคล้องต่อความต้องการและครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ และทุกช่วงวัย
ปัจจุบันธนาคารออมสินมีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นรัฐวิสาหกิจ ในรูปของสถาบันการเงินที่มีรัฐบาลเป็นประกัน อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีสาขา 595 สาขาทั่วประเทศ มีอายุครบ 95 ปี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551
หนึ่งในสี่ของนโยบายของธนาคารออมสินคือนโยบายการเพิ่มและขยายธุรกรรมทางการเงินที่หลากหลาย
1 ขยายช่องทางการให้บริการทางการเงินให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยเฉพาะในห้างสรรพสินค้า การขายผ่านระบบ Tele Marketing และการเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจ
2 พัฒนาและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ และจับคู่ผลิตภัณฑ์ (Product Bundling) ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
3 ใช้กลยุทธ์การขายแบบ Cross Sell และ Up Sell รวมถึงการดูแลลูกค้าคนสำคัญ
4 ขยายการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน และบริหาร Port การลงทุน
ดังนั้น ผู้บริหารและทีมงานฝ่ายวิจัยและพัฒนาจำนวน 33 คน จึงเข้ารับการอบรมหลักสูตร Mind Mapping Workshop เมื่อวันที่ 3-4 ตุลาคม 2551 ณ ห้องสุโขทัย โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค โดยมีคุณนพวรรณ รัตนเวคิน ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนานำทีม พร้อมด้วย คุณนพวรรณ ศรีนาวงศ์ รองผู้จัดการฝ่ายด้านงานวิจัย และคุณจุฑาทิพย์ โฆษิตพัฒน์ รองผู้จัดการฝ่ายด้านพัฒนาธุรกิจ และคุณพจีพิชญ์ หนุนภักดี ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายด้านธุรการ คุณกุศลิน ธรรมโม ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายด้านวิจัย 1 คุณวัลยา มงคลเกษม ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายด้านวิจัย 2 คุณขวัญกมล ไชยาคำ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายด้านบริหารข้อมูลลูกค้า คุชมพูนุท คชไกร ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายด้านพัฒนาธุรกิจ 1 คุณชญาดา โตอุรวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายด้านพัฒนาธุรกิจ 2 คุณมานิตา หุตะจิตต์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายด้านพัฒนาธุรกิจ 3
[วันที่ 3 ตุลาคม 2551 "คู่หูเรียนรู้สู่ Mind Map 100 ใบในหนึ่งเดือน"]
[ตัวอย่างการบ้าน "ครอบครัวเรียนรู้" ระดมความคิดอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้าน]
[การบ้าน Mind Map วันนี้เรียนรู้อะไร สำคัญอย่างไรและจะนำไปใช้ได้อย่างไร]
[ตัวอย่างการบ้าน Mind Map หนังสือ How to Mind Map]
[การบ้าน Mind Map ระดมความคิด "ถ้าธนาคารออมสินไม่รับฝากเงินและปล่อยสินเชื่อ จะประกอบธุรกิจอะไรได้อีกบ้าง"]
[สังเกตสายตาเวลาอ่านหนังสือ - ก้ารแรกไปสู่การ"ใช้หัวอ่านเร็ว"]
[ร่วมด้วยช่วยกันคิดกับ Mind Map]
[คุณศิริรัตน์ รัตนพันธ์ หรือ "น้องสด" แช็มป์หลายรายการของรุ่นนี้]
[จำคำจากการอ่าน 16 คำได้ถึง 12 คำ]
[คิดชื่อเพื่อนได้ 61 คนในเวลา 3 นาที]
[คิดวิธีใช้แปลงสีฟันได้ 27 วิธีใน 3 นาที]
[Mind Map ของน้องสด]
ธนาคารออมสิน95 ปีแห่งตำนาน
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment