Sunday, January 18, 2009

ลากเส้นสีเป็นแผนที่ความคิด (Mind Map)

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มกราคม 2552 12:37 น. แนต้นฉบับได้จาก: http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9520000005080&#Opinion หากถามคุณผู้อ่านว่า ระหว่างการจำ "ภาพ" กับจำ "ตัวอักษร" สิ่งใดจะสามารถจำได้ง่ายกว่า ยิ่งถ้าภาพนั้นเป็นภาพที่มีการใช้สีสันสดใส เปรีย�7นแผงแล้ว คำตอบที่ว่า การจำ "ภาพ" นั้นทำได้ง่ายกว่าตัวอักษรอาจเริ่มเกิดขึ้น อาจเป็นเวลาไม่นานนักกับระยะเวลาที่เครื่องมือจัดการความคิดอันโด่งดังเครื่องมือหนึ่งของโลกที่มีชื่อว่า "Mind Map" ได้รับการเผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย แต่ด้วยความเรียบง่าย และประสิทธิภาพในการจัดระบบความคิด�9�วยความเรียบง่าย และประสิทธิภาพในการจัดระบบความคิดของเครื่องมือดังกล่าว ชัั่วเวลาเพียง 10 ปีก็ทำให้ชื่อของ Mind Map ก็เป็นชื่อที่คนไทยหลายคนต้องยกนิ้วให้ในความสามารถ Mind Map เป็นผลงานการคิดค้นของ "โทนี บูซาน" ผู้ค้นพบหลักสำคัญที่ช่วยในการเรียนรู้ของสมอง นั่นก็คือ การเชื่อมโยงกันของข้อมูล และการใช้จินตนาการ รวมถึงได้ปรับเปลี่ยนเทคนิคการจดบันทึกเสียใหม่ โดยเน้นให้มีสีสัน มีการเชื่อมโยง ตลอดจนนำสัญลักษณ์ ภาพวาดเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเขาได้พิสูจน์แล้วว่า เทคนิคดังกล่าวสามารถช่วยให้สมองจดจำได้ดียิ่งขึ้น สำหรับในเมืองไทย เมื่อพูดถึง Mind Map อาจต้องนึกถึงอาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ และอาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์ แห่งบูซานเซ็นเตอร์ ซึ่งบินข้ามน้ำข้ามทะเลไปอบรมศาสตร์แห่ง Mind Map และได้รับสิทธิ์ในการเปิดอบรม Mind Map ในประเทศไทยด้วย ซึ่งแน่นอนว่ามีทั้งผู้ใหญ่ และ "เด็ก" อีกหลายคนที่เดินเข้ามาร่วมศึกษาศาสตร์นี้ "เริ่มสอนจริง ๆ จัง ๆ ประมาณ 8 ปี โดยเริ่มต้นสอนแบบเล็ก ๆ ก่อน ปิดสอนช่วงแรก ๆ ไม่ค่อยมีคนรู้จัก ส่วนหนึ่งอาจเพราะเขาไม่ค่อยศรัทธาด้วย แต่ยิ่งสอนไป ยิ่งคนเอาไปใช้มากขึ้น ๆ มันได้ผลจริง คนที่ผมสอนเขาก็เอาไปใช้ ไปบอกต่อ เผยแพร่ต่อ จากปีแรกมีแค่ 7 รุ่น ปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมามีถึง 200 กว่ารุ่น" Mind Mapมีผลต่อการจำ? หลายคนอาจสงสัยว่า เหตุใดแค่การลากปากกาสีขีดเป็นเส้นเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน มีคำสั้น ๆ คอยให้ความหมายกำกับ จึงกลายเป็นเครื่องมือช่วยจำชั้นยอด อาจารย์ธัญญาได้ยกตัวอย่างของโทนี บูซานให้ฟังว่า ในอดีต เขาเป็นคนที่ชอบเรียนรู้มาก แต่เมื่อนานวันไป เขาเริ่มพบว่า ความจำของเขายิ่งด้อยลง ๆ จนในที่สุด โทนี บูซานถึงกับไม่ชอบการเรียนรู้ไปโดยปริยาย แต่เมื่อเขาลองขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญ หรือใช้ปากกาสีวงกลมรอบคำสำคัญในสมุดจดของเขาแล้ว กลับพบว่า ความจำของเขาเริ่มกลับมาดีดังเดิม และเมื่อได้สังเกตการจดบันทึกของเพื่อน ๆ ร่วมชั้นเรียนก็พบว่าทุกคนต่างจดบันทึกในลักษณะเดียวกัน คืออัดตัวหนังสือแน่นหน้ากระดาษไปหมด นั่นทำให้เขาเริ่มตระหนักว่า สมองของคนทั้งโลกถูกบางสิ่งบางอย่างขวางไม่ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ "คนเราจะจำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้มาจากเหตุผลสองประการ คือ สิ่งนั้นมีความสำคัญกับชีวิตเรา เราจึงจะจำ ส่วนข้อสองก็คือเกิดจากการทำซ้ำบ่อย ๆ จนจำได้ไปเอง เช่น ชื่อ ชื่อเราจำได้ เพราะมีความสำคัญกับเรา มนุษย์จำได้ว่าอะไรเป็นพิษ กินแล้วตาย ฯลฯ แต่ถ้าไม่ใช่สิ่งสำคัญ เรามักจะไม่จำ ดังนั้นเราจึงต้องทำซ้ำ ๆ แต่คนเราก็ไม่อยากทำซ้ำบ่อย ๆ จึงต้องหาทางทำให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น" "การลืมกับการจำ ก็เหมือนหยินหยาง ทุกอย่างที่ได้มามันก็จะเก็บไว้ในสมองเรา แต่ว่า การลืมคือเราดึงออกมาใช้ไม่ได้ คนเราคิดว่าฟังครั้งเดียว เห็นแล้ว แล้วคิดว่าจะจำได้ แต่มันไม่ใช่ ต้องทำซ้ำ ๆ ถ้าใช้ Mind Mapจะเน้นการทำงานของสมองทั้งสองซีก ซึ่งจะนำไปสู่ความจำ ยกตัวอย่างเหมือนเราเห็นตัวหนังสือ เราจะจำไม่ค่อยได้ แต่พอเป็นภาพเป็นสี เราจำง่ายขึ้น เพราะสมองเราจะจำเป็นภาพ เราก็เอาความคิดความรู้ที่มีมาทำให้เป็นภาพเป็นสี เราก็จะจำได้" กฎง่าย ๆ ของการใช้ Mind Map 1. แก่นแกน (ภาพหัวเรื่อง) มีขนาดพอเหมาะ ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป 2. ห้ามล้อมแก่นแกนด้วยเส้นรอบวงใด ๆ ทั้งสิ้นเว้นแต่ว่ามีนัยสัมพันธ์กับเรื่องนั้น ๆ 3. เส้นของกิ่งแก้วต้องเชื่อมโยงกับแก่นแกนเสมอ 4. กิ่งก้อยที่แตกออกจากกิ่งแก้วควรมีสีเดียวกับกันเพื่อให้จำง่าย 5. เส้นต้องมีความยาวสัมพันธ์กับคำหรือภาพ 6. ต้องแตกกิ่งที่จุดสุดท้ายของเส้นเสมอ 7. เส้นทุกเส้นของกิ่งแก้วและกิ่งก้อยต้องเชื่อมโยงกัน อย่าเขียนให้ขาดหรือแหว่ง 8. คำยิ่งสั้นยิ่งดี 9. เวลาเขียน Mind Map บนกระดาษแผ่นเดียว อย่าหมุนกระดาษจนเป็นวงกลม จนทำให้คำบางคำกลับหัว 10. ห้ามเขียนภาพ หรือคำแล้วล้อมด้วยวงกลมหรือรูปเหลี่ยม 11. ห้ามเขียนคำ/ภาพปิดท้ายเส้น 12. ห้ามเขียนคำคำ/ภาพทั้งบนและใต้กิ่งเดียวกัน 13. ไม่ควรใช้วลีหรือประโยคใน Mind Map เลือกแต่คำที่เป็นประเด็นหลักเท่านั้น ใช้แก้ปัญหา-ระดมสมอง "อาจกล่าวได้ว่า Mind Map เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์หลากหลาย ใช้แก้ปัญหาก็ได้ เพราะเราสามารถเอาสิ่งที่เป็นประเด็นปัญหามาวางใส่ในแมป พอเห็นประเด็นปัญหาก็จะเห็นข้อมูลที่มันเชื่อมโยง พอเห็นภาพรวม ก็จะทราบว่าปัญหาแบบนี้จะมีทางออกกี่ทาง อะไรคือปัญหาหลักปัญหารอง พอมองปัญหาจากมุมนี้ ทางเลือกและการตัดสินใจก็น่าจะดีกว่า เราสามารถระดมความคิด หาวิธีแก้ปัญหามา ว่าจะแก้ยังไง คิดได้เป็นกระบวนการมากขึ้น" ปัญหาหนักใจ "สิ่งที่ผมห่วงและกังวลคือการใช้ฟอร์มผิดกันเยอะ เด็ก ๆ รู้จัก Mind Mapผ่านกระทรวงศึกษาธิการ แต่มีไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ที่เขียนถูก ส่วนมากจะลากเส้นไว้ แล้วก็มีวงกลม จากนั้นก็ให้เด็กเอาความคิดไปใส่วงกลม หารู้ไม่ว่านั่นคือการล้อมความคิดไว้ ซึ่งเป็นการเขียนที่ผิด" "วิธีที่ถูกมันดีกว่าวิธีที่ผิดเยอะเลย ผิดกับถูกมันต่างกันยังไง ถ้าคุณไปล้อมความคิดด้วยวงกลม สุดท้ายแล้วจะทำให้ความคิดไม่สามารถต่อยอดได้ เมื่อมันคิดไม่ออก คิดไม่ได้ ก็ไม่น่าจำ วันหนึ่งเด็กก็อาจจะคิดว่า Mind Mapไม่เห็นได้เรื่องเลย แต่ถ้าสอนสิ่งที่ถูกต้องมันช่วยให้เขาได้ทั้งสองอย่าง คือทั้งจำได้และคิดได้" "ในเรื่องของการศึกษา กระทรวงฯ จะมีบทบาทเยอะ คนจะเชื่อกระทรวง เชื่อศึกษานิเทศก์ แต่บางทีการนำเสนอผิด ๆ ก็ทำให้ทั่วทั้งประเทศผิดไป มันเหมือนกับว่า เราเป็นครูสอนพละ แล้วเราเอาลูกรักบี้มา บอกว่านี่คือฟุตบอล ตอนนี้เด็กไทย 70 - 80 เปอร์เซ็นต์กำลังนึกว่าลูกรักบี้คือลูกฟุตบอล ทางแก้คือให้เผยแพร่ในสิ่งที่ถูกต้องออกไปให้มากที่สุด ซึ่งก็โชคดีที่ในรุ่นต่อ ๆ มามีครูมาเรียนหลายคน" "ความฝันของผมคืออยากให้คนไทยใช้ Mind Mapให้ถูกต้อง ใช้แมปเพื่อความคิดสร้างสรรค์ ใช้แก้ปัญหาของตัวเอง เพราะใน พ.ศนี้ คนไทยคิดไม่ค่อยเป็น Mind Mapอาจไม่ใช่เครื่องมือที่ดีที่สุดแต่มันช่วยให้เราคิดเป็น ทำให้อนาคตของเราแต่ละคนก้าวไปข้างหน้าได้ดีขึ้น" พร้อมกันนี้ อาจารย์ธัญญายังได้ฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการส่งเสริมอัจฉริยภาพของลูก ๆ ด้วยว่า อยากให้ลูกเป็นอะไร ควรทำให้ดูเป็นตัวอย่าง "ถ้าพ่อแม่อยากให้ลูกเป็นอะไร ตัวเองต้องเป็นก่อน ถ้าแม่อยากให้ลูกอ่านหนังสือ แต่ตัวเองกลับบ้านดูละคร พ่อดูกีฬา บอกให้ลูกอ่านหนังสือ ลูกก็คงไม่อ่าน ถ้าอยากให้ลูกอ่าน เราต้องทำให้ดูครับ" อ.ธัญญากล่าวทิ้งท้าย

No comments: