Monday, November 26, 2007

Mind Mapping Work Shop # 1250

วันนี้ผมไปทำ Mind Mapping Work Shop ให้กับบริษัท Workpoint Entertainment นับเป็นรุ่นที่ 1250 และเป็นครั้งที่สองที่ได้จัด workshop ให้ Workpoint. คุณประภาส ชลศรานนท์ ผู้บริหาร Workpoint เคยพาครอบครัวมาเข้า Public work shop เมื่อห้าหกปีก่อน และเคยจัด In-house ให้กับพนักงานมาแล้วรุ่นหนึ่ง เท่าท่จำได้รุ่นนั้นก็มีพนักงานรุ่นบุกเบิกหลายท่านเข้ารับการอบรม เช่น คุณพาณิช สดศรี ซึ่งป้จจุบันก็เป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัท รุ่น 1250 อบรมในห้องโถงใหญ่ของอาคารหลังใหม่ของ ที่มีฉายาว่า "ฉางข้าว" มีผู้เข้ารับการอบรม 36 คน จากฝ่ายงานต่าง ๆ คละกันไป มีทั้งฝ่ายผลิตรายการ บัญชี ประชาสัมพันธ์ และบริหารทรัพยากรมนุษย์ Mind Maps ที่นำมาเป็นตัวอย่างเป็นของ Art Director และฝ่ายผลิตรายการ

journal ของผู้เข้ารับการอบรมรุ่นที่ 1131

เมื่อคืนนี้ผมเข้าไปเยี่ยม blog ของ Mll Niishi แล้วได้อ่าน journal บันทึกเรื่องราวการอบรม Mind Map รุ่น 1131 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 จึงขอคัดบางตอนมาให้อ่านกัน ใครสนใจแนะนำให้ไปอ่านฉบับเต็มที่ Blog http://niichi.multiply.com/journal สนุกกว่ามากเลยครับ คุณ Niishi บรรยายว่า "เมื่อวานไปอบรมเรื่อง Mind Map มา เป็นรุ่นที่ 1131 รวมๆ แล้วมีคนอบรมไป 80,000 กว่าคนละ ได้รู้อะไรดีๆ เยอะแยะเลยล่ะ ได้รู้เรื่องของสมอง การทำงานของสมอง ระบบการจำ การคิดแบบ Kaizen การ Brainstorm แบบ Alex Osborn รู้จัก Mind map การทำ Mind Map และสุดท้ายการทำไปใช้ ได้ความรู้เยอะมากกก แต่คงไม่บอกในนี้อ่ะนะ เด๋วยาว ^^’’ งานจัดที่โรงแรมอิมพีเรียล ธารา ซอยสุขุมวิท 26 โอวว แม่เจ้า เหมือนบ้านนอกเข้ากรุง หลงค่ะหลง หาโรงแรมไม่เจอ วนไปวนมา พี่แทกซี่ก็แบบ กรูรู้..แต่พี่พาหนูเข้าผิดทู้กที กว่าจะไปถึงก็ 9 โมงกว่า ชาวบ้านเค้าเข้าห้องไปหมดแว้วว เข้าไปคนนั่งกันเต็ม อาจารย์เริ่มบรรยายละ จิตราจำเป็นต้องเข้าไปอย่างสงบเสงี่ยมที่สุดหลังจากกวาดสายตาด้วยความเร็ว 800 น้อท ก็เอาวะ นั่งนี่แหละ หลังสุด มุมขวาค่ะ ..มุมดีสุดๆ เฮ้ออ... วิทยากรคือ อ.ธัญญา ผลอนันต์ คนไทยคนแรกที่ได้ไปอบรม Mind Map กับ Tony Buzan ผู้คิด Mind Map ที่เมืองพูล อังกฤษ อาจารย์ไปฝึกอบรมมาแล้วก็ได้รับ Licensed จาก Buzan Center เป็นแห่งเดียวของไทยด้วยนะ ขอบอก เริ่มแรกเป็นกติกา อาจารย์ขอให้เราทำตัวเป็นเด็กอนุบาลตลอดการอบรมนี้ เพราะว่าถ้าเราเอานิสัยการเรียนรู้ของเด็กมาใช้ จะให้เราเรียนได้มากขึ้น ว่างั้นน คงเป็นนิสียช่างซัก ช่างถาม ของเด็กล่ะมั๊ง แล้วอาจารย์ก็พูดถึงแนวความคิดแบบ Kaizen คำนี้มาจากภาษาญี่ปุ่น 2 คำ (ถึงไม่ได้เรียนญี่ปุ่นมาก็น่าจะเดาออก) คือคำว่า Kai (เปลี่ยนแปลง) + Zen (ดีและดีกว่าเดิม) ดังนั้น Kaizen = การเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องให้ดีกว่าเดิม ถ้ายังไม่ชัดเจน อ.ขวัญฤดี มาบอกต่อว่า “เมื่อทำสิ่งใดเสร็จแล้ว รีบถามว่าทำให้ดีกว่าเดิมได้ไหม แล้วลงมือทำให้ดีขึ้นทันที นี่คือหัวใจของ Kaizen” เป็นไงคะ แทบจะบรรลุกันเลยทีเดียว แล้วเราก็มาเรียนรุ้เรื่องของสมอง การทำงานของสมอง ได้ฝึกประลองความจำกันด้วย สนุกมากกก ขอบอกมีเกมส์แข่งคิดเร็ว จำแม่น ไม่อยากจะคุยว่า งานนี้จิตรากวาดรางวัลมาเพียบ อิอิ...ท้ายดิจกรรมนี้ เราก็ได้ข้อสรุปกันว่า “สมองออกแบบมาให้จำภาพมากกว่าตัวอักษร ใครอยากจำได้แม่น ให้ฝั่งความจำเป็นภาพ” และ “สมองจะจำสิ่งที่เกิดแรกและหลังสุดได้ เช่น ความรักครั้งแรก กิ๊ววว เหตุการณ์ที่เกิดเมื่อวาน ประมาณนี้ และสมองจะจำได้ดักับข้อมูลซ้ำๆ เห็นซ้ำ เกิดซ้ำ ข้อมูลที่มีการเชื่อมโยง มีความสัมพันธ์กัน และสุดท้ายสิ่งที่แปลกจากชีวิตประจำวัน สมองจะจำแม่นมากกก เช่นเหตุการณ์เฉียดตาย” เพราะงั้นเทคนิคการจำที่สอดคล้องกับการทำงานสมอง คือ “ต้องทำซ้ำ หาการเชื่อมโยง ละที่สำคัญคือก็บอกต่อ เพราะงั้นใครที่อยากจำแม่น เวลาอ่านหนังสือให้ทำ short note ไปด้วย ให้เกิดการเห็นข้อมูลซ้ำๆ และต้องหาภาพรวมของเนื้อหา ความสัมพันธ์ของข้อมูลให้ได้ ที่สำคัญให้อ่านเหมือนเราต้องไปบอกต่อ สอนต่อ” ประมาณนั้น ลองจำไปทำดูนะคะ พอตอนบ่ายก็มาเจาะ Mind Map Mind Map เนี่ยเป็นเครื่องมือรวบรวมความคิด ใช้ในการจดบันทึกเพื่อช่วยในการจำ ลักษณะของ Mind Map จะเหมือนกิ่งไม้ที่งอกต่อๆไปไม่มีหยุด เหมือนความคิดของเรา ใช้สีสันและภาพ สัญลักษณ์มาช่วยให้จำง่ายขึ้น สนุกมั่กๆๆ เหมือนได้เรียนศิลปะ กะได้ฝึกคิดอะไรที่มันต่อยอด ต่อยอดความคิดออกไป อาจารย์ให้เวลาทำ Map ละ 3 นาที พอหมดเวลานะ ไม่อยากวางปากกาเลย ยังมันส์อยู่อ่ะ เนี่ยยย หน้าตา Mind Map ชิ้นแรกของเรา....^^ ขอบอกว่า อย่าเอาอย่าง มันยังผิดอยุ่ค้า 555 สุดท้ายอาจารย์ก็ฝากไว้ว่า Mind Map เป็นแค่เครื่องมือ ถ้าเรารู้แต่ไม่นำไปใช้ มันไม่มีประโยชน์ รู้แล้วไม่ใช้ = ไม่รู้ อาจารย์ว่างั้น ช่วงเช้า 9 โมงถึง 4 โมงเย็น ถามต่ออีกจน 5 โมงกว่าๆ 7 ชั่วโมงรู้สึกเหมือนแป๊บเดียว "

Sunday, November 25, 2007

Mind Map of the Month: October 2007

Mind Map of the Month: October 2007 พกติดตัวไว้บริหารร่างกายและสมองไปตลอดชีวิต คุณวีระ รุ่งโพธิ์ บัณฑิตครุศาสตร์ไฟฟ้า มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ปัจจุบันทำงานที่บริษัท Informationmediary รู้จัก Mind Map สมัยเรียนมหาวิทยาลัย อาจารย์นำมาสอน แต่เป็นการสอนคร่าว ๆ จึงเกิดความสงสัย เลยไปซื้อหนังสือ “ใช้หัวคิด” และ “ใช้หัวลุย” มาอ่านเพิ่มเติม จึงทำให้ได้รู้จัก Mind Map เพิ่มขึ้น และฝึกด้วยตัวเองก่อน และต่อมาได้เข้ารับการอบรม Public Mind Mapping Workshop รุ่น 1130 คุณวีระใช้ Mind Map ในชีวิตงานและส่วนตัวหลายเรื่อง คุณวีระมีส่วนร่วมในการนำเสนอเม้าธ์กระจาย Mind Map Pecha Kucha ครั้งที่ 2 ขึ้น งานนี้ Buzan Centre (Thailand) จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้คนที่นำ Mind Map ไปใช้แล้วทำให้เกิดความสำเร็จในชีวิตและการงาน คุณวีระมักจดไอเดีย ความคิดต่าง ๆ ลงสมุดบันทึก และใช้ Mind Map ย่อหนังสือ บันทึกแนวทางในการสร้างนิสัยและแรงจูงใจต่าง ๆ การทำงานของสมอง การบำรุงรักษาสมอง โดยใช้เทคนิคความรู้และความจำ คุณวีระนำ Mind Map มาช่วยเวลาอ่านยาก ๆ มีตัวละครมากมาย ทำให้อ่านเข้าใจและจำเรื่องราวได้มากขึ้น แถมยังสามารถช่วยในการวางแผนชีวิตประจำวันได้ด้วย คุณวีระได้นำ Mind Map หลาย ๆ เรื่อง อาทิ แหล่งของการเรียนรู้ งานอดิเรก การค้นหาอาชีพ รวมถึงเทคนิคในการอ่านหนังสือ ใช้สายตาน้อยลง Mind Map of the Month: October 2007 ใบนี้คุณวีระเล่าว่า “เป็น Map ขนาดพกพา ใหญ่กว่าบัตรประชาชนนิดหน่อยครับ และเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารร่างกาย การกระตุ้นระบบประสาทของร่างกายและบำรุงร่างกาย เขียนมาไว้ใช้ได้ตลอดชีวิต” ดูรายละเอียดในวารสาร Go Training ฉบับตุลาคม 2550

เจ็ดในสิบบริษัทชั้นแนวหน้าในประเทศไทยเคยจัด In-house Mind Mapping Workshop

เจ็ดในสิบบริษัทชั้นแนวหน้าในประเทศไทยเคยจัด In-house Mind Mapping Workshop ให้พนักงานและผู้บริหารมาแล้วทั้งสิ้น จากผลการจัดอันดับบริษัทที่ทำกำไรสูงสุดในปี 2550 หรือ Top 200 - Thai Companies of year 2007 (กำไร-ล้านบาท) ปรากฏว่าในสิบอันดับแรกนั้นมีถึง 7 บริษัทที่ใช้ Mind Maps ได้แก่: 1 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 660,097.00 รุ่น 218/878 2 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด 200,813.00 รุ่น 517/620/627/683/716/728/729/735/752/786/ 3 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) 179, 117.00 รุ่น 842/941 5 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 153,717.00 รุ่น 924/937/1111/1022 7 บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน) 117,932.00 รุ่น 267/457 8 บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด 120,297.00 รุ่น/621/622/623/1139 9 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) 80,990.70 รุ่น 997 Buzan Centre (Thailand) ขอแสดงความยินดีในความสำเร็จของบริษัททั้งเจ็ด และขอขอบคุณที่เปิดโอกาสให้เรามีส่วนร่วมในความสำเร็จครั้งนี้

Mind Map of the Month - November 2007

Mind Map of the Month: November ถอดบทเรียน: จาก “ติดขัด” เป็น “ติดใจ” อาจารย์สุมาศ เตชานันท์ แตกความคิดได้ 442 กิ่งภายในชั่วโมงเศษ อ. สุมาศ สอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม จ. ตราด และได้เข้าร่วมการอบรม “การจัดการความรู้เพื่อถอดบทเรียนการสอนคิด โรงเรียนแกนนำขับเคลื่อนการคิดสู่ห้องเรียน” เมื่อวันที่ 21-24 กันยายน 2550 และได้เขียน Mind Map ใบนี้บนกระดาษ A3 อ. สุมาศเล่าว่า : การเขียน Mind Map เพื่อถอดบทเรียนการสอนคิดครั้งนี้ ดิฉันใช้เวลาน่าจะสักประมาณ 1 ชั่วโมงกว่า มีหลายช่วงเวลาค่ะ เริ่มตั้งแต่ประมาณบ่ายสี่โมงกระมังคะ อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์ assigns งาน และมีการทบทวนเป้าหมายจากเจ้าหน้าที่ สพฐ. อยู่สัก 2-3 ครั้ง กระดาษ A3 มีแผ่นเดียว เจ้าหน้าที่บอกว่า ลองร่างลง A4 ก่อน แต่ดิฉันขี้เกียจค่ะ ลุย A3 เลยค่ะ กิ่งแก้วแรกใช้พื้นที่เยอะมาก สะเปะสะปะด้วย เนื่องจากเสียงการชี้แจง แต่จากนั้นดิฉันไม่สนใจแล้ว จะทำตามที่ตัวเองคิดละกัน ก่อนจบ session ดิฉันเขียนได้ถึงกิ่งแก้ว "นำการสอนคิดสู่ชั้นเรียน" ตอนกลางคืนมีการแลกเปลี่ยนกับศึกษานิเทศก์ (ศน.) ในภาคตะวันออก ได้มีการทบทวนข้อมูลว่าเราได้ทำอะไรกันมาบ้าง พี่ ๆ ศน. แนะนำการแตกกิ่งก้อยว่าอาจใช้ตัวบุคคล หรือปัจจัย-กระบวนการ-ผลลัพธ์ ซึ่งเป็นประโยชน์มาก ประมาณสองทุ่มกว่าๆ ค่ะ ดิฉันได้มานั่งเขียนต่อประมาณครึ่งชั่วโมง และเข้านอน เท่าที่ดิฉันนึกออกนะคะ สิ่งที่ทำให้ตัวเองเขียนความคิดออกมาได้มาก เนื่องจากปากกาค่ะ ดิฉันซื้อปากกาเตรียมไว้ตั้งแต่เห็นโปรแกรมการอบรม (ดูโฆษณาในทีวี) ขอบคุณ อ.ขวัญฤดี ที่ทำให้อาการติด ๆ ขัด ๆ ที่เคยเป็นตอนพยายามเขียน Mind Map ก่อนหน้านี้ ดีขึ้นค่ะ เกิดอาการติดใจแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อาจารย์บอกว่าให้พยายามบริหารเวลาและจัดลำดับความคิดให้ดี ให้กิ่งแก้วมีปริมาณพอเหมาะ ไม่ใช่ดิ่งลึกไปที่กิ่งก้อยจนทำให้ Mind Map ของเราไม่สมดุล สื่อความคิดไม่กลมกลืน ขอบคุณคุณครูผู้สอนภาษาไทย ตั้งแต่ประถมถึงมหาวิทยาลัย ที่ทำให้ดิฉันไม่เกลียดวิชาหลักภาษา กลับสนุกและชอบทำเกินคำสั่ง ซึ่งเป็นเรื่องดีในการจับคำสำคัญที่ตรงใจ และขอบคุณความกล้าเสี่ยงของตนเองค่ะ แม้จะเป็นคนที่วาดรูปไม่เป็นก็พยายามใส่บ้าง ลากเส้นไม่ได้ดั่งใจแต่ก็ลากปราดๆ จนชิน ทุกอย่างพยายามมีสติและลุย Supamas Thechanun, an English teacher at Khaosaming Withyakhom in Trad Province, was exposed to proper Mind Mapping in September 22-23, 2007 during a seminar organized by Office of The Basic Education Commision. One day Mind Mapping Workshop led by Kwnarudee Phonanan was built-in to the two-day one-night programme, of which 375 so called "thinking skill prototype teachers" have participated. Supamas revales that it took her just one and a half hours to compleate an A3 Mind Map which branched out 442 key words/images.

Go Training เดือน พฤศจิกายน 2550 ธัญญา ผลอนันต์ ขึ้นปก

Go Training นิตยสารเพื่อคนทำงานยุคใหม่ หรือ Magazine for Human Resources Development ฉบับเดือนพฤศจืกายน 2550 ลงเรื่องราวประวัติธัญญา ผลอนันต์ ผู้นำ Mind Maps มาเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นคนแรก และได้นำภาพธัญญา ผลอนันต์มาลงบนปกหน้าด้วย แต่ที่น่าสนใจกว่าก็คือ ลงภาพประวัติธัญญา ผลอนันต์ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงปัจจุบัน ซึ่งหลายภาพไม่เคยปรากฎที่ใดมาก่อนเลย และเรื่องชีวิตของธัญญา ผลอนันต์ก่อนก้าวขึ้นมาเป็น Pro Trainer และบุกเบิก Mind Maps ในประเทศไทย ฉบับเดือนธันวาคมจึงจะลงตอนต่อไปซึ่งกล่าวถึง การนำ Mind Maps เข้ามาสู่ประเทศไทย Go Training, Magazine for Human Resources Development, November 2007 issue, publishes life story of Tanya Phonanan, the first Mind Map crusader in Thailand. Tanya Phonanan portrait is on the cover of this issue as well. On the top of that, nostalgia snap shots of Tanya Phonanan are displayed along the article. The issue covers a part of his life before be came across Mind Maps. Next issue will continue to his contribution to mental literacy movement and Mind Mapping in Thailand.

Mind Map of the Month - December 2007

Mind Map of the Month: December 2007 จัดระบบความคิดผลิตหนังสือ นักคิดนักเขียน ครูอาจารย์หลายคนหันมาใช้ Mind Maps เป็นเครื่องมือช่วยในการเขียนหนังสือ เช่น อดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์ ผุ้ได้รับรางวัลโนเบิลปีนี้วารสาร TIME รายงานว่าอัล กอร์ใช้ Mind Map จัดระบบความคิดเตรียมเขียนหนังสือเล่มใหม่ คุณสุทธิพันธ์ จำปีเรืองสำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจจาก ม. สยาม ปัจจุบันเป็น IT Business Development ของ TAGS และมีงานอดิเรกเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์และเป็นนักเขียนประจำของหนังสือในเครือ PDAMagZ รู้จัก Mind Map จากคำแนะนำของเพื่อน จึงทดลองใช้ Mind Map ในการวางแผนเขียนหนังสือเล่มใหม่ช่วงกลางปี 2550 และหนังสือ “จุใจ ไอโฟน & ไอพอด ทัช” ก็สำเร็จเป็นรูปเล่ม ออกวางตลาดได้ในเดือนพฤศจิกายน / คุณสุทธิพันธ์เข้าอบรม Mind Mapping Workshop รุ่น 1230