Sunday, January 6, 2008

Mind Mapping Workshop # 1264-5 - มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ออกแบบอนาคตด้วย Mind Map

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เดิมมีชื่อว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมณฑลอุดร" ก่อตั้งวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 ราชบุรุษเพิ่ม การสมศีล ทำหน้าที่แทนครูใหญ่ หลักสูตรที่โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมณฑลอุดรเปิดสอน คือหลักสูตรครูประกาศนียบัตรมณฑล โดยรับนักเรียนชายที่จบประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าศึกษาต่ออีก 2 ปี นักเรียนเหล่านี้เป็นนักเรียนทุน จากจังหวัดต่าง ๆ ในมณฑล สถานที่ตั้งคือ บริเวณสโมสรเสือป่ามณฑลอุดร เป็นที่ตั้งชั่วคราวต่อมาถึงมีการก่อสร้างอาคารเรียนถาวร บริเวณห้วยโซ่ (มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปัจจุบัน) ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 350 ไร่ ต่อมาได้แบ่งพื้นที่บางส่วนให้หน่วยงานอื่น ปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 237 ไร่ 3 งาน 37 ตารางวา โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมณฑลอุดร ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูมณฑลอุดร" ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น"โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี" หลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกหลายครั้งตามนโยบายของรัฐบาลแต่ละสมัย จนกระทั้งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อ "สถาบันราชภัฏ" ให้กับวิทยาลัยครูทั่วประเทศ ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวราชภัฏเป็นล้นพ้น ด้วยทรงพระเมตตาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ให้เป็น "สัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ" คณะวิทยาการจัดการเป็นหนึ่งในห้าคณะของมหาวิทยาลัยราชถัฏอุดรธานี คือ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยี และคณะวิทยาการจัดการ ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 ที่ได้กำหนดในมาตรา 5 ให้วิทยาลัยครูสามารถเปิดสอนในสาขาวิชาการอื่นได้ คณะวิทยาการจัดการได้เปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา คณะวิทยาการจัดการได้พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 เป็นต้นมา ปัจจุบันได้จัดการเรียนการสอนใน 10 สาขาวิชา 1. สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป 3. สาขาวิชาการตลาด 4. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ 5. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 6. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ 7. สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด 8. สาขาวิชาการเงิน 9. สาขาวิชาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว 10.สาขาวิชาการบัญชี ผมเดินทางมาอุดรวันเสาร์ที่ 5 มกราคม 2551 เพื่อจัด Mind Mapping Workshop รุ่น 1264-5 ให้กับ นักศึกษาชั้นปีท่ ๑ สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการการจัดการ จำนวน 109 คนในวันที่ 5 และ 6 มกราคม อาจารย์กัญญา แสนนามวงษ์ (หรืออาจารย์เดียร์ของนักศึกษา) และอาจารย์สุพจน์ สกุลแก้ว ไปรับที่สนามบินแต่เช้า แล้วพาไปรับประทานอาหารเช้าที่ร้านเอมโอช ซึ่งเป็นร้านอาหารเช้าขึ้นชื่อของจังหวัดอุดร ไข่กะทะ ขนมปังอบเป็นอาหารเช้าที่เหมาะกันที่อุณหภูมิ 12 องศาของเช้าวันนั้น อาจารย์สุพจน์ สกุลแก้ว หัวหน้าสำนักงานคณะวิทยาการการจัดการ และสอนสาขาวิชาการคลัง เคยเข้า Mind Mapping Workshop เมื่อปี 2550 เป็นหลักสูตรที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดให้กับวิทยากรในเครื่อข่ายจากทั่วไประเทศได้เรียนรู้และรับรู้การนำ Mind map ไปใช้ในการจัดการองค์ความรู้เพื่อนำไปถ่ายทอดให้นักศึกษาให้ตระหนังถึงความสำคัญของตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศไทย ในสองวันนี้อาจารย์สุพจน์ก็ได้ช่วยประสานงานจัดการเรื่องโสตทัศนูปกรณ์อย่างดีเยี่ยม จนนักศึกษาที่เข้าร่วมได้รับฟังเพลง ภาพยนตร์และ Power Point อย่างชัดเจน คณะวิทยาการการจัดการเคยจัด Mind Mapping Workshop - เรียนสนุก ปลุกความคิดพิชิต Mind Map มาแล้วสองรุ่น เมื่อวันที่ 11 และ 12 กันยายน 2545 นับเป็นรุ่นที่ 268 และ 269 และอาจารย์กัญญาเป็นผู้ประสานงานในการจัดครั้งนั้น ซึ่งมีนักศึกษารวมกันสองรุ่น 130 คน การจัดครั้งนั้นได้รับอานิสงส์จากอาจารย์สมสมร มหารักษิต และ อาจารย์ทัศวรินทร์ เสนาไชย อาจารย์โรงเรียนสตรีราชินูทิศ (อุดร)ผู้มีวิสัยทัศน์ยาวไกล จัดให้กับนักเรียนมัธยม 27 คน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ศกนั้น (รุ่น 240)เป็นครั้งแรกของจังหวัดอุดรธานี และผู้เข้ารับการอบรมคนหนึ่งในรุ่นนั้นคือน้องภักดิ์ แสนนามวงษ์ (หรือน้องพี) ซึ่งเป็นน้องชายของอาจารย์กัญญา อาจารย์กัญญาเล่าว่าเมื่อเร็วนี้ มีโอกาสกลับเปิดดู Mind Map ที่น้องพีเขียนไว้เมื่อห้าปีก่อน สมันเรียนหนังสือชั้นมัธยม 4 ก็แปลกใจมากที่เห็นว่าน้องพีเคยเขียนวาดอนาคตไว้ว่าอยากเป็นนักกฎหมาย เพราะปัจจุบันน้องพีกำลังเรียนนิติศาสตร์ปีที่ 3 และปีหน้าก็จะสำเร็จการศึกษาและได้เป็น "นักกฏหมาย" ตามที่เคยใช้ Mind Map วาดฝันไว้ ถ้าสนใจว่าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แนะนำให้อ่านบทที่ 5 ออกแบบอนาคตของคุณด้วย Mind Map ในหนังสือ How To Mind Map - วิธีเขียน Mind Map ฉบับเจ้าสำนัก ของ Tony Buzan จะได้คำตอบอย่างชัดเจน นักศึกษาสองรุ่นนี้มีโอกาสดีกว่ารุ่นพี่ที่เข้าอบรมเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา เพราะเกือบ 1,000 รุ่นที่ผ่านมา อาจารย์ขวัญฤดีและผมได้ kaizen การนำเสนออย่างมากมายหลายร้อยครั้ง รุ่นนี้จึงมีตัวอย่างเจาะลึกตามความต้องการของนักศึกษา เช่น Video ตัวอย่างการใช้ Mind Map ของนักบัญชีผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตงานและชีวิตส่วนตัว การใช้ Mind Map ในการเรียน การจดคำบรรยาย ไปจนถึงเขียนประวัติเพื่อไปสมัครและสัมภาษณ์งาน ซึ่งรุ่นพี่ไม่มีโอกาสเช่นนี้ รวมทั้งเอกสารประกอบการฝึกอบรม "แบบฝึกหัดคิดพิชิต Mind Map ฉบับนักเรียนนักศึกษา" ยังเป็นฉบับปรับปรุงใหม่ที่ kaizen มาแล้วถึงสามครั้ง แม้ว่าจะเป็นวันหยุดเรียนตามปกติและเป็นวันที่เช้าอากาศเย็นมาก แต่นักศึกษาทั้งสองรุ่นก็ เรียนรู้อย่างสนุก และพิชิต Mind Map ได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่อาจารย์ผู้จัดวางไว้ทุกประการ แม้ช่วงแรกจะยังงัวเงียกันบ้าง แต่ตอนจบก็ได้รับความสุกสนานและรู้วิธีเขียน Mind Map อย่างถูกวิธีไปกันทุกคน ดังตัวอย่างที่ปรากฎใน Blog นี้ นักศึกษาที่เข้าร่วมเชิญตรบมือให้ตัวเองอีกครั้งนะครับ อย่าลืมการบ้านที่ผมฝากไว้ มีเพื่อนหลายคนที่ไม่ได้มาหรือมาไม่ได้ในสองวันนี้ทั้ง ๆ ที่มีสิทธิ์และได้รับโอกาสงาม ๆ เช่นนี้ ก็โปรดเมตตานำความรู้เรื่อง Mind Map ที่ถูกวิธีนี้ไปถ่ายทอดให้พวกเขาด้วย ครับ! คงไม่ลื่มว่าถ้าคุณนำควมรู้ไปถ่ายทอดให้คนอื่น คุณเองจะเก็บเกี่ยวความรู้นั้นได้ถึง 70 % ! ครับ เป็นการสร้างกุศลที่ได้ผลทันที ! ผมรับรองว่าถ้าใครนำไปฝึกเขียน Mind Map ต่อไปอีกเพียงวันละสามใบเป็นเวลาหนึ่งเดือนแล้ว เกียรตินิยมในสามปีเศษข้างหน้าก็เป็นเรื่องแค่เอื้อม และการลงทุนปลุกตัวเองขึ้นมาจากที่นอนอันอบอุ่น ในเช้าวันเสาร์อาทิตย์ที่หนาวเหน็บก็จะคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม อนาคตอยู่ในมือและสมองข้างขวาของคุณแล้ว ผมจะรอความสำเร็จของศิษย์รักชาวบัญชี ราชภัฏอุดรธานีในปี 2554 สุดท้ายก็ขอขอบคุณอาจารย์กัญญา อาจารย์สุพจน์ ที่ทั้งรับและไปส่งที่สนามบินอย่างแข็งขัน รวมทั้งอาจารย์หนู อาจารย์นิ่ม และผศ.ยุพาลัย ที่ร่วมรับประทานอาหารและให้ข้อคิดข้อมูลที่น่าสนใจในระหว่างการสนทนาที่ออกรสยิ่งกว่าอาหารบนโต๊ะ [ภาพบนสุด-ภาพที่ 2 : Mind Map UDRU] [ภาพที่ 3-4 : My First Mind Map] [ภาพที่ 5-7 : My เรียนรู้เรื่องสายตา] [ภาพที่ 8 : My ใช้สมองซีกซ้าย-เครียด !] [ภาพที่ 9 : Mind Map UDRU] [ภาพที่ 10-11 : My First Mind Map] [ภาพที่ 12 : Mind Map UDRU] [ภาพที่ 13 : อาจารย์สุพจน์ สกุลแก้ว/ธัญญา ผลอนันต์/อาจารย์กัญญา แสนนามวงษ์]

No comments: